Page 74 - kpi20207
P. 74
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 73
การปรึกษาหารือในรูปแบบของการจัดประชุม/ประชาพิจารณ์/
เวทีสาธารณะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดำาเนินการเพื่อเสริม
การปรึกษาหารือในรูปแบบการเขียนและหรือส่งข้อมูลเป็นลายลักษณ์
อักษร เป็นรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่เหมาะสำาหรับการ
วิเคราะห์ประเด็นทางนโยบายและกฎหมายที่มีความเฉพาะและมีผลกระทบ
ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม หรือระหว่างผู้คนในสังคมในวงกว้าง การจัด
กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะโดยการจัดการประชุม/ประชาพิจารณ์/
เวทีสาธารณะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียได้ชี้แจงและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ
ในขณะที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบภาครัฐก็จะได้รับฟังคำาอธิบายในประเด็นที่
มีการส่งความเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
และสามารถได้ประเด็นที่ได้ไปศึกษาทำาความเข้าใจและค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
เกี่ยวกับร่างกฎหมาย นอกจากนี้ การจัดประชุม/ประชาพิจารณ์/เวที
สาธารณะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
อย่างเปิดเผยยังช่วยทำาให้สาธารณชนเกิดความแน่ใจว่ากระบวนการปรึกษา
หารือสาธารณะที่จัดทำาขึ้นมีความโปร่งใสและไม่มีอคติ
(4) การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(workshops / conferences)
การปรึกษาหารือในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนา
มักดำาเนินการภายหลังจากที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบได้มีการรับฟังความคิดเห็น
ในรูปแบบอื่นๆ และได้รับทราบข้อมูล แนวคิด และข้อเสนอแนะจาก
ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ มาระดับหนึ่งแล้ว โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบจะเชิญ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักมาเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนา
เพื่อนำาเสนอประเด็นริเริ่มและข้อค้นพบ และขอให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
ช่วยกันพิจารณาทางเลือกและแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา
01-142 PublicConsult_ok.indd 73 22/6/2562 BE 17:26