Page 140 - kpi20858
P. 140

97






                            เป็นคนรบ  คนที่กลางช้างถือทวนเป็นผู้ช่วย  ควาญท้ายถือขอยาวเป็นคนขับช้าง  เหมือนกัน
                            ทั้ง ๒ ฝ่าย


                                  ข.  เครื่องแต่งพระองค์สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกกาทศรถนั้น  ทรงฉลองพระองค์
                            เกราะชั้นใน (ไม่เห็นในรูปภาพ) ทรงฉลองพระองค์ลงยันตสีด าชั้นนอกคาดราชประคต ทรง

                            สนับเพลาด า ทรงมาลาเบี่ยงสีด า คนกลางช้างและควาญท้ายก็แต่งเหมือนกัน ฝ่ายช้างพระ
                                                                                                   153
                            มหาอุปราชา (ที่จริงจะแต่งไรก็ไม่รู้ได้) ได้แต่เดาว่าคงแต่งท านองเดียวกัน เป็นแต่เป็นสีอื่น

                              สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพทรงแนะน าเรื่องเครื่องผูกช้าง และ
                       เรื่องเครื่องแต่งพระองค์เป็นพิเศษ  เนื่องจากต้องการให้เกิดความสมจริงในการสร้างจิตรกรรม  โดย

                       ที่ผนังห้องนี้  มีความส าคัญอย่างมาก  เพราะเป็นฉากตอนส าคัญของเรื่อง  ว่าด้วยการกระท ายุทธ

                       หัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า  ดังนั้นจึงถือเป็นผนังที่มีความส าคัญ

                       ที่สุดของวิหารแห่งนี้

                              การก าหนดวางโครงสร้างของเรื่องตาวแต่ละผนัง ประกอบด้วย 20 ผนัง และผนังพิเศษอีก

                       หนึ่งผนัง ทว่า เมื่อสร้างจริงนั้น ได้มีการปรับขยับเรื่องราวขึ้น เหลือเพียง 15 ผนังเท่านั้น  อาจสืบเนื่อง

                       มาจากการปรับให้สอดคล้องกับสถานที่ ผนังที่พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ได้กราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์

                       เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพในเบื้องต้น ว่ามี 20 ผนัง อาจหมายรวมถึงผนังมุมอาคาร หรือเรียก
                       ผนังรักแร้ที่ไม่สามารถบรรจุเรื่องราวได้มากนักด้วย ดังนั้นจึงฉากตอนที่จะเขียนลง


                            เมื่อกล่าวถึงแนวทางการสร้างภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดแห่งนี้  นับว่ามีความโดดเด่นกว่าวัด

                       อื่นที่ร่วมยุคสมัยเดียวกัน เนื่องจากมีการน าเสนอเรื่องราวพงศาวดารไทย ในรูปแบบภาพจิตรกรรม
                       แบบตะวันตก กล่าวคือ แต่ละผนังประกอบไปด้วยการบรรจุเอาร่างกายมนุษย์ที่แสดงกายวิภาค มี

                       กล้ามเนื้อ และแสงเงา อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่แสดงทัศนมิติ มีระยะใกล้ไกล ดังที่ ประยูร อุลุชาฎะ

                       กล่าวถึงว่า

                                  เป็นจิตรกรรมฝาผนังยุคใหม่ที่ได้พัฒนาเทคนิคและเรื่องที่เขียนขึ้นใหม่ โดยใช้สีน ้ามัน

                            แทนสีฝุ่นแบบโบราณ มีวิธีเขียนและรูปแบบเป็นศิลปะสากล แสดงความรู้สึก ระยะใกล้-ไกล

                            แบบ 3 มิติ เน้นรูปคนด้วยปริมาตรในลักษณะทางกายวิภาคที่ถูกต้อง ให้แสงเงา ระยะของสี
                            และสร้างบรรยากาศเพื่อให้ภาพดูมีชีวิตดุจธรรมชาติ  ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกจาก

                                                                        154
                            เรื่องประวัติศาสตร์ไทย ตอนประวัติพระนเรศวรมหาราช



                           153  เรื่องเดียวกัน.
                           154  กรมศิลปากร, จิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์, 24.
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145