Page 141 - kpi20858
P. 141

98






                              การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมด้วยแนวทางตะวันตก  อยู่ในความสนใจของพระยาอนุศาสน์
                       จิตกร  จนมีผลงานอันโดดเด่นปรากฏในหลายสถานที่  พระวิหารวัดสุวรรณดารารามจึงเป็นหนึ่งใน

                       สถานที่ส าคัญซึ่งพระยาอนุศาสน์ได้ฝาฝีมือไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป  อย่างไรก็ตามแม้ว่า

                       กายวิภาค  และการสร้างทัศนียวิทยาในผลงานจะยังไม่ถูกต้องตามหลักการตะวันตกมากนัก  ทั้งนี้

                       ต้องพิจารณาถึง  การที่พระยาอนุศาสน์ไม่ได้ศึกษาศิลปวิทยาการแบบตะวันตกจากสถาบันใดมา
                       ก่อน แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างน่าทึ่ง


                              การพิจารณาถึงจุดเด่นในรายละเอียดของการสร้างภาพจิตรกรรมแห่งนี้  ประยูร  อุลุชาฎะ

                       ได้กล่าวสรุปประเด็น สามารถรวบรวมพอสังเขปได้ดังนี้

                            ๑.  วัสดุที่ใช้เขียนแทนที่จะเขียนสีฝุ่นผสมกับกาวบนผนังแห้งแบบเทมเพอรา  (Tempera)

                                 หรือเขียนสีฝุ่นบนผนังปูนฉาบเปียกหมาดๆ ก็กลับเขียนสีน ้ามันลงบนผนังที่เตรียมไว้แล้ว
                            ๒.  ภาพคนมีขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริงหรือเล็กใหญ่กว่าไม่มากนัก

                            ๓.  เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องประวัติศาสตร์  อันแสดงพระราชภารกิจของสมเด็จพระนเรศวร

                                 มหาราชโดยเฉพาะ
                            ๔.  การเขียนคงเรียงล าดับแบบโบราณคือ เริ่มรูปที่ ๑ จากซ้ายมือพระประธานผนังด้านทิศ

                                 เหนือ แล้ววนทักษิณาวรรต รอบพระประธานมาจนจบอีกข้างหนึ่ง
                            ๕.  เทคนิคการเขียนท่านจิตรกรได้เขียนแบบจิตรกรรมยุโรป  ดังเช่นนายริโกลี  และนายชินี่

                                 เขียนที่ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมกับพระที่นั่งบรมพิมาน  และนายริโกลีเขียนแต่ผู้

                                 เดียวในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส  จากแบบร่างของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ
                                 วัดติวงศ์  เรื่องเวสสันดรชาดก  มีแสงเงา  มีการผลักระยะใกล้ไกล  มีทัศนียวิทยา

                                 (perspective)...แม้จะเขียนแบบยุโรปดังได้กล่าวแล้ว  แต่บางครั้งก็เอาการเขียนแบบ
                                 ไทยเดิมเข้ามาผสมผสานด้วย  เช่น  เขียนภาพเทวดาและนางฟ้าเป็นแบบไทยๆ  แต่มี

                                 ขนาดตัวเล็กกว่า  เนื่องจากภาพในวัดสุวรรณดารารามมีขนาดใหญ่  และภาพของตัว

                                 บุคคลที่มีขนาดใหญ่   จึงเขียนให้มีแสงเงาจัดจ้านกว่ากัน   แต่สังเกตได้ว่าผู้เขียน
                                 พยายามจะเขียนภาพคนให้มีแสงเงา  ส่วนรวมนั้นท่านผู้เขียนภาพยังขาดความรู้ใน

                                 ด้านกายวิภาควิทยา (Anatomy) รวมทั้งข้อปลีกย่อยเบ็ดเตล็ดต่างๆ เช่น เพอร์สเพกทีฟ
                                 แม้ส่วนใหญ่ใช้ได้บางจุดก็ยังผิดพลาด แต่นั่นก็มิได้ท าลายคุณลักษณะส่วนใหญ่ลงไป

                                 ซึ่งเรื่องเช่นนี้น่าให้อภัย   เพราะท่านศิลปินมิได้เคยฝึกฝนงานจิตรกรรมจากส านักใน

                                 ยุโรปมาเลย...  พระยาอนุศาสนจิตรกรสามารถเขียนโครงภาพส่วนรวม  (unity)  ให้มี
                                 บรรยากาศ (atmosphere) มีน ้าหนัก (value) มีแสงเงา (chiaroscuro) และมีการจัด

                                 ภาพได้งามอย่างน่าพิศวง  และน่าชมเชย  ดังรูปการณ์ติดตามเรือของพระยาจีนจันตุที่
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146