Page 58 - kpi21078
P. 58
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ประกายแห่งการพลิกฟื้นวิถีชุมชน
“เราจะทำให้พี่น้องม่วงกลวงกลับมาอยู่ดีกินดีเหมือนเดิมได้อย่างไร”
คำถามจากคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดระนอง
ในปี 2550 เปรียบเสมือนหนึ่งการจุดประกายการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ในการพลิกฟื้นวิถีชีวิตชุมชนม่วงกลวงให้เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมความเป็นอยู่กลับมาดังเดิม ด้วยการรวมตัวกันของกลุ่มผู้นำ
การเปลี่ยนแปลงโดยมีหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแหลมสน นายอำเภอ
กะเปอร์ และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จ.ระนอง เป็นกลจักรร่วม
ที่สำคัญ ขนานไปกับการผนึกกำลังร่วมของภาคีจิตอาสาภายนอก คือ
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่เข้ามาให้การ
ช่วยเหลือในกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตชุมชน
กิจกรรมในช่วงแรกเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนแบบไม่เป็นทางการ
แต่ก่อเกิดความหมายอันยิ่งใหญ่ อาทิ การจัดสภากาแฟของกลุ่มผู้ก่อร่าง
ร่วมกับพี่น้องชุมชนม่วงกลวงที่ประสบปัญหาเพื่อสร้างแนวทางฟื้นฟู
1
ทรัพยากรทางทะเล จนเกิดทิศทาง (ยุทธศาสตร์) “4 สร้าง 2 ใช้” และ
วิธีการพัฒนา (กลยุทธ์) 3 แนวทาง ได้แก่ 1).การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว 2).การแปรรูปสินค้า
ชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3).การให้ความสำคัญกับสินค้าชุมชน
เพื่อแปรรูป ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความสงสัยเป็นแรงขับเคลื่อนการทำงาน
ของพวกเขาโดยแท้ และคำถามที่ตามมาให้ครุ่นคิดต่อ คือ ยุทธศาสตร์
และกลยุทธ์ดังกล่าวสามารถนำไปสู่วิถีปฏิบัติได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
1 ยุทธศาสตร์ 4 สร้าง 2 ใช้ คือ 1. สร้างพลัง (คุยต่อเนื่อง รู้จักแบ่งปัน)
2. สร้างความหวัง 3. สร้างโอกาส (พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้เกิดทุน) 4. สร้างสุขภาวะ
(ความปลอดภัยและวิสาหกิจชุมชน) 5. ใช้ศักยภาพชุมชน (ทุนชุมชนเกิดมูลค่าเพิ่ม
และนวัตกรรมชุมชน) และ 6. ใช้ทุนภายนอก (หยิบยื่นทุนภายนอกเข้าสู่ชุมชน)
สถาบันพระปกเกล้า