Page 59 - kpi21078
P. 59

10 จังหวัด...พลังพลเมือง



                  รอยทางวิถีชุมชนเดิมเริ่มปรากฏ

                        กระแสการพัฒนาชุมชนม่วงกลวง
                  เริ่มปรากฎผลขึ้นเป็นลำดับภายใต้หัวขบวน
                  ผู้นำและภาคีการเปลี่ยนแปลง โดยระหว่าง

                  ปี 2552-2556 มีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมให้
                  การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรอื่น ๆ
                  เพื่อการพัฒนาชุมชนม่วงกลวงอย่างมากมาย

                  ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดระนอง อำเภอกะเปอร์ องค์กรพัฒนาเอกชน (พอช.)
                  UNSCR สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) อุทยานแห่งชาติ
                  แหลมสน และสถาบันพระปกเกล้า เพื่อเป้าหมายสำคัญในการพัฒนา
                  เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของชุมชนม่วงกลวงแต่เดิมให้กลับ
                  ตลอดจนชุมชนสามารถจัดการตนเอง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผล

                  ให้เกิดแผนพัฒนาชุมชน แผนพัฒนาทะเลสาบระนอง เกิดกติการ่วม
                  เกิดข้อมูล และเกิดกิจกรรมการผลิตอาหารแปรรูปและการท่องเที่ยวชุมชน
                  ตามรอยทางวิถีชุมชนแต่เดิม กระทั่งเกิดศูนย์เรียนรู้ตำบลม่วงกลวงที่เป็น

                  ผลผลิตแหล่งรวมข้อมูลและทรัพยากรการบริหารจัดการชุมชนม่วงกลวง
                  ภายใต้สโลแกน “ทรัพยากรยั่งยืน ประชาชนมั่งคั่ง” ซึ่งเหมือนกับว่า
                  การขับเคลื่อนงานนี้จะสะดวกราบรื่นไปตลอดรอดฝั่ง และจบลงเพียง
                  บรรทัดนี้


                  เพียงหนึ่งหัวขบวนรถจักรมิอาจลากโบกี้อื่นให้ถึงฝั่งฝัน

                        จากสัญญาณแห่งความรุ่งโรจน์ ผันสู่คำพูดที่ว่า “พี่เห้อเหนื่อยนิ ”
                                                                              2
                  เสียงปรารภจากประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จ.ระนอง
                  ที่แฝงเร้นถึงความเหนื่อยและท้อแท้ ผสานกับประโยคต่อไปว่า “ช่วงนั้น

                  เราเชื่อว่าการทำงานของเราจะสามารถสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับชุมชนได้ แต่


                      2   พี่เหอเหนื่อยนิ เป็นภาษาใต้ แปลว่า พี่ครับเหนื่อยครับ


                  สถาบันพระปกเกล้า
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64