Page 88 - kpi21078
P. 88
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ซึ่งการจัดตั้งโรงเรียนพลเมืองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ ผู้ที่
เข้าเรียนมีความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของตนเอง อันจะนำ
ไปสู่ความเข้มแข็งและสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ภายใต้การมี
ส่วนร่วมของทุกฝ่าย
เมื่อขยะเป็นปัญหาของชาวร้อยเอ็ด ประชาชนในฐานะนักเรียน
พลเมืองจึงรวมกลุ่มกันดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะ ผ่านการประสาน
ความร่วมมือกับสภาพลเมืองร้อยเอ็ด ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
สาธารณะเสนอต่อทั้งพ่อบ้าน (ผู้ว่าราชการ) เสนอสาธารณะสุข ผ่าน
องค์ความรู้จากหลักสูตรของโรงเรียนพลเมือง ถึงแม้ภูเขาขยะจะยังไม่หมด
ไปจากจังหวัดร้อยเอ็ด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเพิ่มขึ้น หรือไม่ได้รับ
การแก้ไขให้น้อยลง เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาในการกำจัด ค่อย ๆ เป็น
ค่อย ๆ ไป เนื่องจากขยะต้องถูกกำจัดให้ถูกวิธี และต้องไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพด้วย นอกจากชาวร้อยเอ็ดจะดำเนินการ
แก้ปัญหาภูเขาขยะแล้ว การกำจัดขยะด้วยตัวเองในครัวเรือนก็เป็นอีกหนึ่ง
วิธีการเบื้องต้นง่าย ๆ ที่ลดปริมาณขยะ ไม่สร้างภาระเพิ่ม ซึ่งเป็นผล
จากการมีส่วนร่วมของ “นักเรียนพลเมือง” ทั้งสิ้น...
จึงเห็นได้ว่าไม่ใช่เพียงแค่นักเรียนพลเมืองที่ขยับ แต่ชาวร้อยเอ็ด
ขยับทั้งจังหวัด เพราะการดำเนินการหากกระทำเพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
อาจไม่ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย
...การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของนักเรียนพลเมือง และศูนย์
พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดร้อยเอ็ด...
“...การเปลี่ยนแปลงทำให้คนเปลี่ยนไป...”
จากการดำเนินการที่ผ่านมาของนักเรียนโรงเรียนพลเมืองและ
สภาพลเมืองร้อยเอ็ด ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเมือง
สถาบันพระปกเกล้า