Page 95 - kpi21078
P. 95
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
(17) ส่วนราชการต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจใน
ระบอบประชาธิปไตย
(18) สร้างพลังในหมู่บ้าน ด้วยการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งแบบไม่
ขายเสียง
(19) การแสดงตนของผู้ที่อยากเป็นผู้ใหญ่บ้าน แสดงผลงานให้
ประชาชนยอมรับ ในความรู้ความสามารถ
(20) การไม่ยุ่งเกี่ยวกับอิทธิพลต่าง ๆ ของผู้ที่จะสมัครเข้ารับ
การเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
เพียงแค่ยึดมั่นในศีลธรรม มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและ
ส่วนรวม มองประโยชน์ที่จะพัฒนาชุมชน สังคมเป็นที่ตั้ง ก็จะไม่มีอำนาจ
เงินใด ๆ ชนะความจริงใจไปได้เป็นแน่แท้
“จากพลังเล็ก ๆ สู่ ต้นแบบประชาธิปไตย” การดำเนินงานของ
ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดร้อยเอ็ด
ดำเนินการอย่างเข้มข้น และเข้มแข็ง ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนจึง
ก่อให้เกิดเป็น “สภาพลเมืองร้อยเอ็ด” ที่เป็นการรวมกลุ่มของทั้งหน่วย
งานภาครัฐ ภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ภาค
ประชาสังคม และผู้นำชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือทำงานเพื่อ
แก้ไขปัญหาของชุมชนร่วมกัน ซึ่งการรวมกลุ่มในครั้งนี้ทำให้เกิดข้อเสนอ
เชิงนโยบายอันเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อเสนอต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด
ร้อยเอ็ด และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 4 ข้อเสนอ ได้แก่
1. นโยบายปลูกป่าในใจคน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
(ป่าไม้)
2. นโยบาย โคก-หนอง-นา-อาหารปลอดภัย เพื่อเป็นศูนย์การ
เรียนรู้เกษตรอินทรีย์
3. นโยบายเลือกตั้งสมานฉันท์ ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
4. นโยบายโครงการโรงเรียนพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า