Page 200 - b29259_Fulltext
P. 200

ความเหลื่อมลำ้ายังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความแตกต่างของ

        รายได้ โดยในรอบเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมานั้น สถานการณ์ความเหลื่อมลำ้า
        ด้านรายได้ของประเทศไทยดีขึ้นเพียงเล็กน้อย โดย ความเหลื่อมล้้าด้านรายได้
        ของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อสะท้อนจากค่าสัมประสิทธิ์

        ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ (Gini Coefficient) ซึ่งมีค่าประมาณ 0.4 – 0.5
        และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย จาก 0.487 ในปี 2531 ลดลงเหลือ 0.445

        ในปี 2558 และเมื่อพิจารณาความเหลื่อมลำ้าด้านรายได้ระหว่างกลุ่มรวยสุด
        กับกลุ่มจนสุด ยังมีความแตกต่างกันประมาณ 22.1 เท่า ในปี 2558 นอกจาก
        ความเหลื่อมลำ้าด้านรายได้แล้ว ยังมีปัญหาความเหลื่อมลำ้าในเรื่องคุณภาพ

        การบริการภาครัฐ และกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและ
        กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น การเข้าสู่สังคม

        ผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ความเหลื่อมลำ้าทางเทคโนโลยี ซึ่งทำาให้ความเหลื่อมลำ้า
        ในสังคมไทยรุนแรงขึ้นได้


               แนวทางการพัฒนา:

               1. เพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ตำ่าสุด

        ให้สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของรัฐ และพัฒนาทักษะฝีมือ
        เพื่อประกอบอาชีพและยกระดับรายได้

               2. กระจายการให้บริการภาครัฐทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข

        และสวัสดิการที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมและทั่วถึง ปรับปรุงปัจจัยแวดล้อม
        ทางธุรกิจ รวมทั้งกฎหมาย กฎ ระเบียบให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
        เพื่อให้ประชากรทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐและทรัพยากรอย่าง

        เท่าเทียมกันสามารถพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น



     200
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205