Page 203 - b29259_Fulltext
P. 203
อย่างจริงจัง ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ความขาดแคลน และการแย่งชิง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
และเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจมากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
มีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่ง
ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ
3. ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศถูกนำาไปใช้เป็นข้อจำากัดในเรื่องกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ
ทำาให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับภาระในการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกมากขึ้น
แนวทางการพัฒนา:
1. การรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสร้างสมดุลของการอนุรักษ์
และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรนำ้าเพื่อให้เกิด
ความมั่นคง สมดุล และยั่งยืนทั้งในมิติเชิงปริมาณและคุณภาพ ด้วย
กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
3. แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ด้วยการเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้ง
ทางอากาศ ขยะ นำ้าเสียและของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิตและบริโภค
4. ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย
เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ภายใต้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
203
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 203