Page 253 - b29259_Fulltext
P. 253

ความสำาเร็จในโครงการดังกล่าวทำาให้ นานาชาติพยายามขอ

        เข้ามาศึกษาดูงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ทั้งที่
        กระทรวงสาธารณสุข และที่ สปสช. ที่เป็นองค์กรรับผิดชอบหลักในโครงการ
        ดังกล่าว ที่ผ่านมาผู้นำาองค์กรระดับโลกต่างให้การยอมรับโครงการดังกล่าว

        ที่ผลักดันโดยประเทศไทยมากว่า 15 ปี ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการองค์การ
        สหประชาชาติ ผู้อำานวยการธนาคารโลก และผู้อำานวยการองค์การอนามัยโลก

        ทำาให้ประเทศไทยมีจุดยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างสง่างามในเรื่องการส่งเสริม
        นโยบายประกันสุขภาพ





        2.    สิทธิมนุษยชน


               1) ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

               ในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ที่ประชุมสมัชชาของสหประชาชาติ

        ได้รับรอง “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” โดยปฏิญญาฉบับนี้ถือเป็น
        แม่แบบในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนครั้งแรกในโลก ทำาให้เอกสาร
        ด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับทั้งในระดับระหว่างประเทศ และกฎหมายภายใน

        ประเทศมีพื้นฐานมาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งนั้น ทั้งนี้ ประเทศไทย
        เป็นหนึ่งใน 48 ประเทศแรกที่ให้การรับรองปฏิญญาฉบับนี้


               นอกจากปฏิญญาฉบับดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังเป็นภาคีของ
        ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับ อาทิ กติการะหว่าง
        ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, กติการะหว่างประเทศ

        ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม, อนุสัญญาว่าด้วยการเลือก



                                                                      253
                                 หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ  253
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258