Page 258 - b29259_Fulltext
P. 258
5. การแก้ไขปัญหายาเสพติด
ที่ผ่านมาปัญหายาเสพติดถูกมองว่าเป็นปัญหาสำาคัญระดับชาติ และ
ประเทศไทยได้จัดตั้งองค์กร คณะกรรมการ หน่วยงาน และแผนยุทธศาสตร์
ในหลายภาคส่วนเพื่อปราบปราม ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่
จากหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมาการจับเครือข่ายยาเสพติดในประเทศไทย
พบว่ามีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายยาเสพติดที่มีลักษณะ “ข้ามชาติ”
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผล “ความร่วมมือกับ
ต่างประเทศ” จึงเป็นเรื่องที่สำาคัญเพื่อแก้ไขปัญหาเครือข่ายยาเสพติด
ข้ามชาติ ประเทศไทยจึงวางเป้าหมายในการลดปริมาณยาเสพติดที่เข้ามา
ภายในประเทศ การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน ความร่วมมือด้าน
การข่าวกับประเทศเพื่อนบ้าน ความร่วมมือกับประเทศหรือองค์กรที่มีอิทธิพล
กับประเทศเพื่อนบ้าน และการเพิ่มความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทางเลือก
กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ มีกลไกความร่วมมือดังกล่าวอยู่ 2 แนวทาง
1. ความร่วมมือในกรอบระหว่างประเทศด้านยาเสพติด
ที่ส�าคัญทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก
(1) คณะกรรมาธิการด้านยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission
on Narcotic Drugs - CND)
(2) ความร่วมมือภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ 7 ฝ่าย ได้แก่ ไทย
ลาว เมียนมาร์ จีน กัมพูชา เวียดนาม และสำานักงานว่าด้วยยา
เสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations
Office on Drugs and Crime – UNODC)
258