Page 3 - kpiebook62001
P. 3
สนับสนุนโดยวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
(ความเห็นในรายงานฉบับนี้เป็นของคณะผู้วิจัย หน่วยงานสนับสนุนไม่จ าเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักสองประการ ได้แก่ ประการแรกคือการศึกษาที่มา แนวคิดและปัญหาของ
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประการที่สองคือการศึกษาแนวคิดและกรณีศึกษาของการจัดสวัสดิการในรูปแบบ
เทียบเคียงกันจากประเทศก าลังพัฒนา ได้แก่ อินโดนีเซีย จีนและอินเดีย และประเทศพัฒนา ได้แก่ สหราช
อาณาจักรและสวีเดน เพื่อทบทวนข้อสังเกตและน าไปสู่การเสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าวในการแก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล้ า วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนเอกสารเชิงสังเคราะห์ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการ
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ และการสนทนากลุ่มกับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้วยวิธีสุ่มตามวัตถุประสงค์
ผลการศึกษาพบว่าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจัดอยู่ในรูปแบบสวัสดิการแบบเก็บตกคล้ายกับโครงการ
สวัสดิการส่วนใหญ่ในอดีต แต่มีจุดแตกต่างส าคัญที่การเจาะจงไปที่คนจน โดยมีจุดยืนส าคัญเรื่องประสิทธิภาพการ
ใช้จ่ายของรัฐ หลีกเลี่ยงการบิดเบือนตลาดเสรี และการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก แต่โครงการนี้ยังขาดความชัดเจน
ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ า การใช้เงินจากงบกลาง และการวางแผนรวมถึงประเมินผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว
ยิ่งไปกว่านั้น กรณีศึกษาประสบการณ์การใช้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในประเทศก าลังพัฒนาอื่น ๆ
ชี้ให้เห็นความท้าทายหลายประการของนโยบายในลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการคัดกรองและบริหาร
ฐานข้อมูล ปัญหาการเจาะจงผิดพลาดที่อาจอยู่ในระดับสูง และการใช้อ านาจบิดเบือนกระบวนการจัดสรรประโยชน์
จนท าให้นโยบายถูกใช้ผิดวัตถุประสงค์
นอกจากนี้การศึกษาเปรียบเทียบกรณีประเทศพัฒนาแล้วอย่างสวีเดนและสหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างที่
ช่วยสะท้อนว่าการหันไปสู่การใช้แบบเจาะจงมากขึ้น ดังเช่นในกรณีของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ยุคคริสตทศวรรษ
1970 เป็นเส้นทางมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของปัญหาความเหลื่อมล้ า ทั้งยังเกิดการสูญเสียแรงสนับสนุนระบบ
สวัสดิการในภาพรวม ในขณะที่ประสบการณ์ของสวีเดนยังแสดงให้เห็นในทางกลับกันว่าประโยชน์จากการใช้
สวัสดิการแบบถ้วนหน้านั้นมีมากกว่าการป้องกันปัญหาการเจาะจงผิดพลาด แต่ยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้หญิง