Page 26 - kpiebook62011
P. 26

22






                 1. การสำรวจที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนโดยการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขต


                     ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินภายในฝ่ายปกครอง ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องกระทำเสมอไป แต่อยู่ใน
               ดุลพินิจของฝ่ายปกครองว่าจะกระทำหรือไม่ก็ได้ โดยมาตรา 5 วรรคสาม บัญญัติว่า “...เพื่อประโยชน์ในการ
               ดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่ง จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อน

               ก็ได้” แต่ถ้าฝ่ายปกครองผู้ใช้อำนาจเวนคืนเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนก่อน เนื่องจาก
               มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนดีแล้ว หรือแนวเขต

               ที่ดินมีความแน่นอนไม่มีความซับซ้อน รัฐก็อาจไม่ดำเนินการขั้นตอนนี้ได้ แล้วดำเนินการเฉพาะการเสนอ
               ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนต่อสภานิติบัญญัติเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ของเอกชนในอสังหาริมทรัพย์นั้นมาเป็นของรัฐ
               ได้ทันที


                     ในกรณีที่รัฐเห็นว่าก่อนจะเวนคืนที่ดินของเอกชนมาเป็นของรัฐควรที่จะได้มีการสำรวจเพื่อทราบ
               ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่จะต้องเวนคืนให้แน่นอนก่อน ฝ่ายปกครองผู้ใช้อำนาจเวนคืนก็อาจดำเนินการให้มีการ

               ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนได้ โดยในพระราชกฤษฎีกานั้นจะต้องระบุ

                    (1) ความประสงค์แห่งการเวนคืน


                    (2) เจ้าหน้าที่เวนคืน

                    (3) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น

                    (4) มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่

                        ประเมินนั้น

                     พระราชกฤษฎีกาให้มีกำหนด 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี (มาตรา 6) เมื่อพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้ว

               เจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจเวนคืนก็มีสิทธิเข้าไปในที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่เพื่อทำการสำรวจและเพื่อทราบ
               ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่จะเวนคืนหรือกระทำกิจการอื่นเท่าที่จำเป็นเพื่อการสำรวจดังกล่าวได้ แต่ก่อน

               ที่จะเข้าไปในที่ดินจะต้องมีการแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเป็นการล่วงหน้าก่อน
               ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มเข้าไปทำการสำรวจ และหากการสำรวจของเจ้าหน้าที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่
               เอกชน รัฐก็ต้องชดใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสำรวจนั้น (มาตรา 8) การดำเนินการใน

               ขั้นตอนนี้เรียกว่า เป็นการจัดกรรมสิทธิ์และทรัพย์สิน

                     อนึ่ง มีข้อสังเกตว่าแม้จะมีประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาแล้วก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะยังไม่ตก

               เป็นของรัฐแต่อย่างใด เพียงแต่มีผลให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการสำรวจและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่มีความผิด
               ฐานบุกรุกเท่านั้น กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรัฐต่อเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอีกฉบับหนึ่ง

                     การเข้าไปสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่จะเวนคืนหรือการจัดกรรมสิทธิ์ข้างต้น รัฐจะต้อง

               ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในอายุของพระราชกฤษฎีกา มิฉะนั้นเจ้าของที่ดินก็อาจไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่











                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31