Page 3 - kpiebook62015
P. 3
ชื่อรายงาน การสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้รายงาน ศรัณยุ หมั้นทรัพย์
ปีงบประมาณ 2561
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานศึกษาการสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ดมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการของโครงการ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์
ความรู้จากโครงการ ผู้ศึกษาใช้วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้เชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลเชิง
คุณภาพจากเอกสารรายงานผลการด าเนินโครงการ การสัมภาษณ์แกนน าและสมาชิกในชุมชน
สังเกตกิจกรรม การประชุมและการก่อตั้งสภาพลเมือง เพื่อน ามาวิเคราะห์เนื้อหาและจ าแนกค า
และหลักการส าคัญ และสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังพลเมือง ซึ่งพบว่า
1) การปฏิบัติการของโครงการเป็นไปตามแนวทางทฤษฎีระบบ กล่าวคือ การน าเข้า
โครงการจากสถาบันพระปกเกล้าผ่านแกนน าศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง การด าเนินการ
โดยแกนน าและสมาชิกในชุมชนตามความต้องการของพื้นที่ กรณีที่แนวทางแก้ไขปัญหาต้อง
ก าหนดเป็นนโยบายสาธารณะจะน าเสนอต่อหน่วยงานรัฐที่มีอ านาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
ๆ ผลการด าเนินงานช่วยพัฒนากรอบคิด (mindset) ของพลเมืองที่ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม
ๆ คือร้องขอและรอรับจากรัฐ (passive citizen) สู่พลเมืองที่ตระหนักในอ านาจหน้าที่ของตน
และลงมือกระท าเพื่อส่วนร่วม (concerned citizen และ active citizen) คือ การแก้ไขปัญหา
เริ่มต้นจากตนเองและชุมชน มีส่วนร่วมน าเสนอข้อเสนอสู่หน่วยงานรัฐที่มีอ านาจหน้าที่และ
ก าหนดเป็นนโยบายสาธารณะ นอกจากนี้ผลการด าเนินโครงการยังสามารถตอบสนอง
ยุทธศาสตร์ของจังหวัดที่ก าหนดร่วมกันตั้งแต่เริ่มโครงการด้วย
2) องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากโครงการ ประกอบด้วย องค์ความรู้ 7 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ศักยภาพของสมาชิกชุมชน 2. ผู้น า 3. หลักการประชาธิปไตย 4. การมีส่วนร่วม 5.
การเรียนรู้ต่อเนื่องและขยายผล 6. การสื่อสารและระบบสื่อสาร และ 7. ความไว้วางใจ ซึ่ง
สอดคล้องกับแนวคิดพัฒนาคุณธรรมพลเมือง (civic virtue) โดยผ่านกระบวนการรวมกลุ่มและ
แก้ไขปัญหาส่วนรวม และสอดคล้องตามแนวคิดโครงสร้างหน้าที่นิยม (Structural-
Functionalism Theory) ที่โครงสร้างของสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยส่งผลต่อบทบาท
i