Page 3 - kpiebook65020
P. 3

ก


                                                          ค าน า


                       รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final  Report) โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือ
               ส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”  เสนอต่อส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

               สถาบันพระปกเกล้า  เป็นไปตามสัญญาเลขที่ พป 099/2563 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2563 รายงานฉบับนี้
               ได้จัดท าขึ้นหลังจากที่คณะที่ปรึกษาได้ท าการศึกษาวิจัยมาเป็นระยะเวลา 5 เดือน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา
               โดยรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่คณะที่ปรึกษาจัดท าขึ้นนี้มีสาระส าคัญประกอบไปด้วย บทสรุปผู้บริหาร บทที่
               1 บทน า ซึ่งกล่าวถึงหลักการและเหตุผลของโครงการวิจัย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา วิธีการศึกษา และ

               ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  บทที่ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและ
               วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย บทที่ 3 กรณีศึกษา เรื่อง “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแฟลต
               ฟอร์ม (short-term  rental)”  บทที่ 4 การจัดท าคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
               และบทที่ 5 บทสรุป

                       ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษา ได้ด าเนินการส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการด าเนินการตรวจสอบความ
               จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ ประกอบไปด้วย แนวคิดทฤษฎีที่
               เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย แนวคิดนิติเศรษฐศาสตร์ หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย

               ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               พ.ศ. 2562 เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม การจัดท ารายงานวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และการตรวจสอบเนื้อหาในตรากฎหมาย ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้น าองค์
               ความรู้ที่ได้มาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการสอนโดยทดลองใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรา
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย จัดโดยส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

               จากนั้นจึงได้น าการศึกษาดังกล่าวมาพัฒนาเป็นคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
                       คณะที่ปรึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบ
               ความจ าเป็นในการตรากฎหมาย” นี้ จะเป็นประโยชน์แก่สถาบันพระปกเกล้า ในการน าไปใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตร

               การวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย รวมทั้งจะเป็นประโยชน์แก่ภาคส่วนที่
               เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดท าและอนุมัติร่างกฎหมาย ตลอดจนเป็นการน าไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ที่
               เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต


                                                                                                คณะที่ปรึกษา

                                                                                         23 พฤศจิกายน 2563
   1   2   3   4   5   6   7   8