Page 4 - kpiebook65020
P. 4

ข


                                                        บทคัดย่อ


                       ตามที่มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก าหนดให้มีการตรวจสอบ
               ความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย อันมีที่มาจากแนวคิดเรื่องการประเมินผลกระทบ
               ของกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ
               จัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งก าหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบความ

               จ าเป็นในการตรากฎหมาย การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               กฎหมายเพื่อประกอบการจัดท าร่างกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีกฎหมาย

               เพียงเท่าที่จ าเป็นและไม่สร้างภาระให้กับประชาชนเกินความจ าเป็น
                       การเกิดขึ้นของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ท าให้เกิดผล

               กระทบเชิงบวกต่อการตรากฎหมายในระบบของประเทศไทยในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความ
               จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายถือเป็นเรื่องใหม่ส าหรับประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของรัฐ
               เกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติ หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนที่ยังไม่มีความรู้และเข้าใจในเรื่องนี้อย่าง
               เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นต้องจัดท าองค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
               กฎหมาย โดยคณะผู้วิจัยได้ด าเนินการ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก ส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียน

               การด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายของประเทศต่าง ๆ โดย
               ครอบคลุมประเด็นเรื่องแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย แนวคิดนิติเศรษฐศาสตร์ หลักเกณฑ์
               ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ

               ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม การจัดท า
               รายงานวิเคราะห์ผลกระทบ และการตรวจสอบเนื้อหาในการตรากฎหมาย ประการที่สอง การน าองค์ความรู้ที่ได้
               นั้นมาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอน  และประการที่สาม การจัดท าคู่มือส าหรับการตรวจสอบ
               ความจ าเป็นในการตรากฎหมาย การศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้เป็นรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าว

               อย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อต่อยอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต
               นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเครื่องมือให้กับผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการนิติบัญญัติ หน่วยงานของรัฐ และภาค
               ประชาชนในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย อันเป็นกลไกส าคัญในการด าเนินการเพื่อให้บรรลุ
               เจตนารมณ์ของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
   1   2   3   4   5   6   7   8   9