Page 279 - kpiebook65064
P. 279

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   229
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                6.3.2 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก


                                     จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการจัดซื้อยาเข้าสู่

                           สถานพยาบาล พบว่า ปัญหาในการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาลที่ส่งผลต่อความมี
                           ธรรมาภิบาลระบบยา ได้แก่ ปัญหาการส่งเสริมการขายจากผู้แทนยาที่อาจมีผลประโยชน์

                           ร่วมกันกับคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ของสถานพยาบาล หรือต่อผู้บริหาร
                           แพทย์ และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดกันของผลประโยชน์ (Conflict
                           of Interest) ในการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล ในประเด็นนี้ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องของ

                           ความโปร่งใส (Transparency) ในการจัดซื้อยา อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมการส่งเสริม
                           การขายขึ้นกับแนวนโยบายและหลักเกณฑ์จริยธรรมของสถานพยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                           เป็นหลัก

                                     โดยผลจากการสัมภาษณ์สามารถสรุปได้ ดังนี้

                                     (1) กฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อยาเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติกว้าง ๆ

                                       การจัดซื้อยาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
                           ระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดซื้อยา รวมถึงคู่มือและแนวนโยบายการจัดซื้อยา

                           ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้อิสระแก่โรงพยาบาลและการตัดสินใจใช้ยาของแพทย์เป็นหลัก
                           อย่างไรก็ดี แนวทางปฏิบัติที่ควรจะเป็นและส่งผลต่อธรรมาภิบาลของคณะกรรมการฯ อาจถูก

                           ละเลยถ้าโรงพยาบาลแต่ละแห่งมิได้ให้ความสำคัญ เช่น การพิจารณาเพื่อนำยาเข้าสู่บัญชียาของ
                           โรงพยาบาลควรพิจารณาในรูปของคณะกรรมการ PTC แต่บางแห่งการคัดเลือกยาเป็นเพียง
                           การตกลงกันภายในโดยไม่ต้องจัดประชุมคณะกรรมการ

                                     (2) การส่งเสริมการขายต่อสถานพยาบาล


                                       ผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านเห็นตรงกันว่า การส่งเสริมการขายมีความสำคัญและ
                           มีอิทธิพลสูงทั้งต่อบุคลาการทางการแพทย์และคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของ
                           โรงพยาบาล การจัดการต่อการส่งเสริมการขายในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการจัดการภายในโรงพยาบาล

                           และการจัดการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามความสมัครใจเป็นหลัก ถ้าโรงพยาบาลใดมีความเข้มแข็ง
                           หรือสามารถตรวจสอบการใช้ยาของแพทย์ไม่ให้เป็นไปตามความเชื่อหรือแรงจูงใจจากการส่งเสริม

                           การขายได้ มีการถ่วงดุลกันเองภายในอย่างดีก็จะช่วยป้องกันการส่งเสริมการขายที่ผิดหลัก
                           จริยธรรมได้ ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านกังวลถึงความเข้มงวดที่แตกต่างกันของการควบคุมว่า “ของเรา
                           โรงพยาบาลใหญ่เขามียาที่มีมาตรฐานเข้ามาอยู่แล้ว คือ ปัจจุบันมันไม่สามารถที่จะเอาส่วนลดได้

                           แจกฟรีก็ไม่ได้ ก็จะมาในรูปแบบการไปประชุมกับต่างประเทศ แต่ผมไม่แน่ใจโรงพยาบาล
                           ต่างจังหวัด การที่เขาคัดเลือกว่าจะให้ใคร เขาใช้หลักเกณฑ์อะไร ก็อาจจะเลือกคนที่มี power

                           เยอะ ใช้แล้วคนอื่นใช้ตาม คือพวกนี้ก็ไม่ได้มีปัญหามาก เพราะเราก็ไม่ได้สัญญากับเขา ก็พยายาม
                           วางตัวให้อยู่บนความวิชาการ” 35


                                35  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L,วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


                                                                                                             บทที่ 6
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284