Page 280 - kpiebook65064
P. 280

230           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                              ส่วนการควบคุมในรูปของเกณฑ์จริยธรรมหรือการจัดการภายในของบริษัทเอกชน

                   ยังมีความไม่แน่นอน ในบางองค์กรที่มีเกณฑ์จริยธรรมเข้มงวดก็สามารถบังคับใช้เกณฑ์จริยธรรม
                   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงข้ามบางองค์กรกลับมิได้ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าบริษัทหรือ

                   เจ้าหน้าที่ตนมิได้เป็นสมาชิกของสมาคมหรือหน่วยงานที่มีการออกเกณฑ์จริยธรรม ผู้ให้สัมภาษณ์
                   ท่านหนึ่งเล่าประสบการณ์ว่า “เคยถูกบริษัทยาเชิญไปบรรยายที่คาซาบลังกา (Casablanca เมือง
                   ใหญ่และเมืองท่องเที่ยวในประเทศโมร็อคโก–โดยคณะผู้วิจัย) โดยมีแพทย์ชาวไทยราว 30 คนเป็น

                   ผู้ฟัง บริษัทอ้างว่าที่ทำได้เพราะไม่ได้เป็นสมาชิก...........โดยที่ตอนเช้าทานข้าวและฟังบรรยาย ส่วน
                   ตอนบ่ายไปเที่ยว”  หรือบางท่านเห็นว่ายังมีความเข้มงวดในการใช้เกณฑ์ของแต่ละบริษัทยาต่างกัน
                                   36
                   “บริษัทไหนที่เข้มงวดก็จะใช้เกณฑ์จริยธรรมที่เข้มงวดหน่อย อย่างเราเคยมีฝ่ายการตลาดของ
                   บริษัทหนึ่งทำผิดด้วยการไปให้ของขวัญเพื่อจะให้หมอสั่งยาของตัวเอง พอบริษัทรู้ก็ยื่นซองขาว
                                                                               37
                   ทั้งแผนก แต่บางบริษัทก็ไม่ทำอะไรก็มี เพราะเป็นเกณฑ์สมัครใจ”  หรือประสบปัญหาที่มีเกณฑ์
                   แตกต่างและลักลั่นกัน “ปัญหาตอนนี้คือเอกชนยังไม่ได้มีเกณฑ์เดียวกัน ที่เราทำอยู่คือพยายาม
                   ชักจูง ซึ่งคิดว่าอย่างน้อยต้องมี ให้เอกชนอื่นทำแบบเรา อย่างน้อยต้องมีใน 2-3 ปีข้างหน้า”

                              อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการขายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากการส่งเสริม

                   การขายยามีข้อดีอยู่หลายด้าน เช่น ช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่แพทย์ การห้ามในเรื่อง
                   ดังกล่าว อาจส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านยา เพราะการส่งเสริมการขายและความใกล้ชิดกับ
                   ผู้แทนยาอาจอำนวยสะดวกด้านการติดต่อหรือช่วยดูแลเรื่องยาขาดแคลนที่ผู้แทนยาสามารถ

                   หยิบยืมยาจากโรงพยาบาลอื่นได้ เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเล่าว่า “การประชุมแพทย์ในระดับ
                   ต่าง ๆ ถ้าไม่มีสปอนเซอร์ก็จบ ทำไม่ได้ ต้องอาศัยการบริจาค ก็อาศัยการจัดการประชุมวิชาการ

                   ได้เงินก็นำไปใช้ในการวิจัย ส่วนใหญ่สมาคมก็ต้องควักเนื้อตัวเอง....คือแนวโน้มปัจจุบันการถูกจำกัด
                   การใช้ยา ทำให้การสนับสนุนจากบริษัทลดลงไปเรื่อยๆ สมาคมก็ต้องช่วยตัวเอง”  หรือ “ถ้าจะให้
                                                                                           38
                   มีการส่งเสริมทางวิชาการควรทำให้เป็นทางการและไม่ผูกพันกับยอดขาย โดยควรให้การสนับสนุน

                   เชิง CSR ผ่านโรงพยาบาลเป็นกองกลาง โดยไม่ต้องผ่านถึงตัวแพทย์เป็นการเฉพาะเจาะจง”   39

















                         36  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A. วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
                         37  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F, วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
                         38  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L, วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
                         39  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A. วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556





                   บทที่ 6
                   สถาบันพระปกเกล้า
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285