Page 41 - kpiebook65069
P. 41

40    นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)



               แพลตฟอร์มนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสถาบันพระปกเกล้า คณะรัฐศาสตร์
        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ELECT (ต่อมาเปลี่ยนเป็น WeVIS) โดยเริ่มต้น

        จากการศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลและพัฒนาแพลตฟอร์มภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง

        “การพัฒนาแพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย (2563) ผ่าน
        เว็บไซต์: กรณีศึกษาและการประยุกต์ใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร”
        ของส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์

        ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และนางสาวธนิสรา เรืองเดช เป็นนักวิจัยหลัก

               จากนั้นได้น�าข้อมูลและผลการศึกษาที่ได้รับมาจัดท�าเป็นฐานข้อมูลส�าคัญ

        ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง การบริหาร และการเลือกตั้งของกรุงเทพมหานคร

        นับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน





               เพื่ออะไร?


               นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2562 หลายฝ่ายต่าง

        คาดการณ์กันว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ห่างหายจากสังคมไทยตั้งแต่ปี 2557 นั้นจะเกิดขึ้น
        ในไม่ช้า ในบรรดาการเลือกตั้งทั้งหมดที่มีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ ได้แก่ การเลือกตั้ง

        องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) การเลือกตั้งเทศบาล การเลือกตั้งองค์การบริหาร
        ส่วนต�าบล (อบต.) และการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 พื้นที่

        คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยานั้น การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
        นับว่าเป็นที่สนใจและได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ประชาชน

        จ�านวนมากทั้งที่มีสิทธิเลือกตั้งและไม่มีสิทธิเลือกตั้งให้ความส�าคัญ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46