Page 182 - kpi12626
P. 182
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1 1
ระยะยาว ซึ่งอาจกระทำโดยนำสภาพคล่องทางการเงิน (เงินสดหรือเงินฝาก
ต่างๆ) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากออกมาใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการสาธารณะ หรือ
กระทำได้โดยการก่อหนี้จากสถาบันทางการเงินต่างๆ เพื่อนำเงินมาลงทุน
หรือใช้ในการจัดบริการด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นได้
ตัวอย่างสุดท้ายได้แก่จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ภาคใต้ตอนล่าง มีค่า คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ลำดับควอไทล์ในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ความยั่งยืนทางงบประมาณ
ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว และความเพียงพอของการจัดบริการ
สาธารณะเท่ากับ 1, 1, 1, และ 3 ตามลำดับ ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ
สภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นและความยั่งยืนทางงบประมาณไม่สู้จะดี
เท่าใดนักเมื่อเทียบกับเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ อย่างไรก็ดี เทศบาลในจังหวัด
สตูลนี้มีระดับการจัดบริการสาธารณะที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป อีกทั้งยังไม่มี
ภาระหนี้ระยะยาวมากเท่าใดนัก ฉะนั้นจากข้อมูลดังกล่าวอาจตีความได้ว่า
เทศบาลกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยในจังหวัดนี้เน้นการจัดบริการสาธารณะเป็น
อย่างมาก โดยการนำเงินสดหรือสิ่งที่ใกล้เคียงเงินต่างๆ มาใช้ประโยชน์
อย่างเต็มที่โดยการจัดบริการให้แก่ประชาชน จนอาจส่งผลทำให้เงินสด
ขาดมืออยู่บ่อยครั้ง เงินสะสมร่อยหรอจนทำให้ดุลงบประมาณเริ่มติดขัด
ในกรณีเช่นนี้ ผู้บริหารของเทศบาลอาจพิจารณาทางเลือกในการระดม
เงินทุนระยะยาวผ่านการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้ในการจัดบริการสาธารณะต่างๆ
ได้ โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาที่สำคัญๆ โดยลดการใช้เงินสดหรือ
เงินสะสมลง เพื่อให้เทศบาลมีสภาพคล่องและเงินสะสมเก็บไว้มากเพียงพอ
สำหรับการรับมือกับสภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น อันจะเป็นการสร้าง
หลักประกันถึงเสถียรภาพในการดำเนินงานของเทศบาลที่จะไม่สะดุด
ขาดตอนหรือหยุดชะงักลง อันเนื่องมาจากการขาดความเตรียมพร้อมในด้าน
สภาพคล่องและกันชนทางการเงินสำหรับการรับมือกับสภาวะฉุกเฉินต่างๆ
อย่างเพียงพอ