Page 181 - kpi12626
P. 181
1 0 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ในระดับปานกลาง ขาดความยั่งยืนทางงบประมาณ โดยเฉพาะเงินสะสม
ของเทศบาลโดยเฉลี่ยไม่สูงมากนัก อีกทั้งระดับการจัดบริการสาธารณะ
ยังไม่สูงเช่นกันเมื่อเทียบกับเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ อย่างไรก็ดี เทศบาล
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในจังหวัดนี้มีภาระหนี้ในระยะยาวที่ไม่สูงมากนัก
ฉะนั้น ทางเลือกหนึ่งในการสร้างขีดความสามารถทางการเงินและการจัด
บริการของเทศบาลในจังหวัดนี้ได้แก่การเพิ่มการจัดบริการให้แก่ประชาชน
ผ่านการระดมทุนในตลาดเงิน เพื่อนำเงินกู้ระยะยาวมาใช้ในการลงทุนขยาย
ขอบเขตการให้บริการแก่ประชาชนให้มากขึ้นได้
จังหวัดต่อมาได้แก่จังหวัดตราด ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของ
ประเทศไทย มีค่าลำดับควอไทล์ของฐานะทางการเงินในด้านสภาพคล่อง
ความยั่งยืนทางงบประมาณ ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว และความ
เพียงพอของการจัดบริการสาธารณะเท่ากับ 4, 4, 1, และ 4 ตามลำดับ ซึ่งใน
ภาพรวมนั้นถือได้ว่าฐานะทางการเงินการคลังของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างใน
จังหวัดตราดโดยเฉลี่ยมีความเข้มแข็งมากในทุกๆ ด้าน จึงมีความมั่นใจ
ในระดับหนึ่งว่าเทศบาลในจังหวัดตราดโดยเฉลี่ยมีความสามารถในการดูแล
ทุกข์สุขของประชาชนที่ไม่ด้อยไปกว่าเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ อย่างน้อย
ในช่วงเวลาที่มีการเก็บข้อมูลการสำรวจในครั้งนี้
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดนี้มีผลการจัดอันดับฐานะทางการเงิน
ในด้านสภาพคล่อง ความยั่งยืนทางงบประมาณ ความยั่งยืนทางการเงิน
ในระยะยาว และความเพียงพอของการจัดบริการสาธารณะในลำดับ
ควอไทล์ที่ 4, 1, 1, และ 2 ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า
เทศบาลในจังหวัดนี้โดยเฉลี่ยมีสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นที่ดีมาก
และมีภาระหนี้ระยะยาวที่ไม่สูงแต่ประการใด อย่างไรก็ดี ระดับการจัด
บริการสาธารณะของเทศบาลในจังหวัดนี้โดยเฉลี่ยไม่สูงมากนัก ด้วยเหตุนี้
เทศบาลในจังหวัดอุบลราชธานีน่าจะยังคงมีขีดความสามารถทางการเงินใน
การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้นทั้งในระยะสั้นและ