Page 367 - kpi17968
P. 367
356
แม้คำพิพากษาของศาลในหลายกรณีได้สร้างทางออกของภาวะทางตัน
ในทางการเมือง เช่น กรณีการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทั้ง
พรรคฝ่ายค้านและประชาชนกว่า 14 ล้านคนเห็นว่าไม่ชอบธรรมและศาลลงมา
ตัดสิน ทำให้เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งใหม่ที่เป็นธรรมขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็น
บทบาทสำคัญที่ศาลพยายามดำรงบทบาทในการแก้ไขปัญหาของประเทศมาโดย
ตลอด แต่ดูเหมือนว่าสังคมในหลายส่วนจะเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของศาล
ในหลายกรณีมีลักษณะ “Double Standard” ปรากฏการณ์ “ตุลาการภิวัตน์”
ในประเทศไทยที่ผ่านมา ไม่ใช่การตัดสินคดีความอย่างก้าวหน้า (Judicial activism)
และไม่ใช่การตีความกฎหมายอย่างสร้างสรรค์ (Constructive Interpretation)
เพราะ การตัดสินคดีความอย่างก้าวหน้าคือการที่ผู้พิพากษาพยายามใช้ และ
ตีความกฎหมายอย่างสร้างสรรค์ เพื่อวินิจฉัยคดีให้เกิดผลไปในทางที่ขยาย
ขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนออกไปมากขึ้น การตัดสินคดี
ความอย่างก้าวหน้าจึงไม่ใช่การตัดสินคดีความเพื่อปราบปรามศัตรูทางการเมืองขั้ว
ตรงข้าม ไม่ใช่การตัดสินคดีความเพื่อ “ปลด” นักการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดี
ความเพื่อตามยุบพรรคการเมือง ไม่ใช่การตัดสินคดีความที่แทรกแซงเข้าไปใน
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันเป็นอำนาจของรัฐบาลโดยแท้
ต่อมาเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มี
การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และคณะรัฐประหาร
ได้ประกาศให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับเก่า เช่น ศาลรัฐธรรมนูญต้องถูก
ยกเลิกไปทั้งหมด โดยได้จัดตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยคำสั่งของคณะปฏิรูป
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
นอกจากนี้ ยังออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 กำหนดให้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง
ยังคงบังคับใช้ต่อไป และกรณีมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองพรรคใด ให้เพิกถอน
สิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นระยะเวลา 5 ปีซึ่งจากนั้นเป็นต้น
มาได้นำมาสู่การร้องให้มีการพิจารณายุบพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์
และอีก 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคแผ่นดินไทย และ
พรรคพัฒนาชาติไทย โดยผลของการพิจารณาพบว่า ได้มีการยกคำร้องที่ให้ยุบ
พรรคประชาธิปัตย์ และมีคำสั่งให้ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้งของ
การประชุมกลุมยอยที่ 3