Page 523 - kpi17968
P. 523
512
ดังนั้นหลักนิติธรรมและระบอบประชาธิปไตย ย่อมเกิดมาจากการเรียนรู้
และความเข้าใจที่ถูกต้องและจิตสำนึกที่เต็มเปี่ยมไปด้วยธรรมอย่างแท้จริง โดย
สะท้อนออกมาในรูปของพฤติกรรมที่สอดคล้องกับระบบการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย แม้ว่าพฤติกรรมของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐจะมีลักษณะที่
แตกต่างกันออกไปอันเนื่องมาจากเหตุปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา แต่หน้าที่ของ
รัฐก็จะต้องคอยควบคุมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ
ระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมให้ได้ โดยอาศัยธรรมะเป็นเครื่องมือ
ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้น ซึ่งปกติประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐก็จะมี
พฤติกรรมที่สามารถแสดงออกได้ 2 ลักษณะคือ ด้านกุศลและอกุศล
1) ด้านกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อได้รับความรู้ที่ถูก
กระตุ้นด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความดีแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อม
มีแนวโน้มทางพฤติกรรมที่นำไปสู่ความเป็นกุศล หรือผู้ทรงธรรม
2) ด้านอกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อได้รับความรู้ที่ถูก
กระตุ้นด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความชั่วแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อม
มีแนวโน้มทางพฤติกรรมที่นำไปสู่ความเป็นอกุศล หรือผู้ไม่มีธรรม
3) ด้านกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อได้รับความคิดที่ถูก
กระตุ้นด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความดีแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อม
มีพฤติกรรมที่เป็นกุศล หรือผู้ทรงธรรม
4) ด้านอกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อได้รับความคิดที่
ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความชั่วแล้ว บุคคลเหล่านั้น
ย่อมมีพฤติกรรมที่เป็นอกุศล หรือผู้ไม่มีธรรม
5) ด้านกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อจิตสำนึกถูกกระตุ้น
ด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความดีแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมกลาย
เป็นคนดี หรือเรียกว่า “ผู้มีธรรม”
6) ด้านอกุศล กล่าวคือ ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อจิตสำนึกถูก
กระตุ้นด้วยปัจจัยหรืออำนาจที่นำไปสู่ความชั่วแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อม
กลายเป็นคนชั่ว หรือเรียกว่า “ผู้ไร้ซึ่งธรรม”
บทความที่ผานการพิจารณา