Page 335 - kpi18886
P. 335

327




                   มีบทเรียนอาจไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องต้องกันแค่เห็นภาพอนาคตร่วมกันก็มีสิทธิที่

                   จะให้เราอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยคิด ช่วงลงแรง จัดการประเทศให้เดินไปข้างหน้า

                         กลุ่มที่ 3 กฎหมายรัฐธรรมนูญหลายมาตราที่เป็นความเสี่ยงก่อให้เกิด
                   วิกฤตความชอบธรรมในทางการเมืองหากใช้อำนาจโดยไม่ระมัดระวัง ทั้งหมดนี้

                   เป็นเรื่องของกลุ่มการเมืองทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 18 ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อ
                   คนที่จะมาเป็นนายก กระบวนการเลือกตั้งนายกในมาตรา 158-159 บวก
                   บทเฉพาะกาล 272 สภาชุดแรกใน 5 ปี ร่วมเลือกนายกฯ คำสั่ง คสช.ที่ยังมีอยู่
                   ต้องมีอยู่จนมีรัฐบาลใหม่เหล่านี้ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้อำนาจหรือใช้อำนาจเกิน
                   ขอบเขตของกฎหมาย วิกฤตการณ์ทางการเมืองก็เกิดขึ้นได้เพราะการเมืองก่อน

                   เลือกตั้งและหลังการเลือกตั้งนั้นต่างกัน เมื่อได้เห็นจำนวน สส. ของแต่ละ
                   พรรคการเมือง ความชอบธรรมทางการเมืองจะเกิด ความพยายามทำอะไรที่เกิน
                   บทบัญญัติของกฎหมายให้พึงระวัง รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดเรื่อง

                   ใหม่ๆ เช่น กฎหมายมาตรา 219 เรื่องมาตรฐานจริยธรรม ที่อาจเป็นเครื่องมือ
                   ให้ของการต่อสู้ทางการเมือง การกลั่นแกล้งทางการเมืองเกิดได้

                         ส่วนตัวผมมองไม่เห็นว่าจะมีสถาบันไหนเป็นหลักที่จะทำให้เกิดความปรองดอง
                   และไม่มีฝ่ายใดเชื่อ ช่วงที่ผมทำโครงการส่งมอบประเทศไทยแก่ลูกหลาน

                   ได้เชิญพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เสื้อเหลือง เสื้อแดง สัมภาษณ์คน 200-300 คน
                   ได้ข้อสรุปคือไม่มีฝ่ายใดเชื่อว่าจะมีใคร สถาบันใดสามารถกำหนดอนาคตของ
                   ประเทศได้เบ็ดเสร็จแม้มีอำนาจในการบริหารประเทศก็ตาม คือไม่ไว้วางใจซึ่งกัน
                   และไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน เรามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาเกี่ยวกับ
                   การปรองดอง นับตั้งแต่ชุดอาจารย์คณิตเป็นต้นมารวมแล้ว 10 ชุดถึงชุดปัจจุบัน

                   คำถามคือทำไมความปรองดองไม่เกิดขึ้น? โจทย์สำคัญกว่าคือเราจะใช้เครื่องมือ
                   อะไรในการสร้างความปรองดอง ผู้มีประสบการณ์แก้ปัญหาความขัดแย้ง
                   ในโคลัมเบีย พบว่าในโคลัมเบียออกแบบโดยมีตัวแทนของทุกส่วนอยู่ในทีมแก้ไข

                   ความขัดแย้งซึ่งสำคัญมาก ในโคลัมเบียมีความขัดแย้งครบหมดทุกองค์ประกอบ
                   เช่น การค้ายาเสพติด การรบ กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ แต่เมื่อเป้าหมายสามัคคี
                   คือพลังแล้วขับเคลื่อนประเทศร่วมกันก็ทำได้ ประเทศแอฟริกาใต้หลังการปลดปล่อย
                   เนลสัน แมนเดลล่า สังคมแอฟริกาใต้มีการคุยของกลุ่มต่างๆ มีการออกแบบ คุยกัน
                   ในที่ลับ แต่มีอิสระ ปลอดภัย และไม่เป็นข่าว สุดท้ายทางออกคือต้องมี

                   ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน และลงมือทำจนพาประเทศฝ่าวิกฤตได้




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 6
   330   331   332   333   334   335   336   337   338   339   340