Page 336 - kpi18886
P. 336
328
ดังนั้นการนำไปสู่ความปรองดองคงไม่ได้หมายถึงสถาบันใดสถาบันหนึ่งแต่หมายถึง
การแชร์พลัง และการออกแบบกระบวนการที่เหมาะสม และไม่ได้สร้างการปรองดอง
โดยใช้กฎหมายบังคับหรือบังคับให้เกิดการพูดคุย
ในประเด็นปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคของการสร้างความปรองดอง สรุปสาระสำคัญ
ความเชื่อความคิดทางการเมืองแบบเดิม รากเหง้าความขัดแย้งตามรายงานวิจัย การนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย 6 กลุ่ม
ของสถาบันพระปกเกล้านั้นยังคงมีอยู่ และเป็นอุปสรรคสำคัญ ความเปลี่ยนแปลง
และปัจจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นคือการรักษาความสมดุลของ คสช. ไปสู่การเปลี่ยนผ่าน
ให้ได้ หาก คสช. ซึ่งเป็นผู้รักษากติกาลงมาเล่นในสนามการเมืองเอง
สถานการณ์จะยิ่งซับซ้อนขึ้น
การสร้างความปรองดองแบบการมีส่วนร่วม ในฐานะที่ทำงานแบบ
มีส่วนร่วม เห็นว่าสถาบันสันติวิธีต่างๆ ควรนั่งคุยกันว่าเราจะป้องกันแรงเหวี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นในทางการเมืองอย่างไร ผลจากการทำโครงการส่งมอบประเทศไทย
แบบไหนให้ลูกหลานพบว่าสามารถแบ่งคนไทยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรกคือ กลุ่มเราเฉย เป็นกลุ่มที่สามารถปรับตัวเองเข้ากับสถานการณ์
ต่างๆ ได้หมดที่เกิดขึ้น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเราสู้ มีความ active ต่อความเชื่อ ต่ออุดมการณ์ความคิด
ทางการเมืองของตัวเอง อาจรุนแรง ขัดแย้ง และบาดเจ็บล้มตาย เพื่อนำไปตาม
ความเชื่อ คนไทยกลุ่มนี้มีมาก
กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มเราร่วม กลุ่มนี้เฉยก็ไม่ได้แต่จะให้ไปสู้แรงๆ ก็ไม่เห็น
ด้วยเพราะว่าความซับซ้อนของสถานการณ์ของซับซ้อนของปัญหาไม่มีพลังใดพลัง
หนึ่งจะแก้ได้ ต้องหันหน้าเข้าหากัน แชร์พลังกัน ร่วมมือกัน หาทางออกอนาคต
ด้วยกัน ชวนกลุ่มที่มีความเห็นหลากหลายมาร่วม กลุ่มนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นทันที
ทางออกเรื่องนี้ผมคิดว่าต้องคิดเรื่องการออกแบบ คิดเรื่องการรวมพลัง
การแชร์พลัง ของกลุ่มคนด้านสันติวิธี นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าโดยสำนัก
สันติวิธีและธรรมภิบาลต้องริเริ่มและช่วยกลุ่มคนทำงานด้านสันติวิธี หาคนมา
ร่วม หาตัวแทนทุกฝ่าย รวมถึงจากกองทัพจากรัฐบาลด้วย ถ้ามีคนริเริ่มชวนคุย
เพื่อรับมือกับสถานการณ์หลังเลือกตั้งก็อาจลดแรงเหวี่ยงสุดโต่งทางการเมือง
ที่อาจเกิดขึ้นได้
การประชุมกลุมยอยที่ 6