Page 72 - kpi20125
P. 72
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดศรีวิชัยจ านวน 182 คน จัดหาวิทยากรที่จะมา
บรรยายในการอบรม จัดหาสถานที่ส าหรับการอบรมและอุปกรณ์การอบรม วิทยากรให้ความรู้ ผู้เข้าอบรมท าการ
บรรยายฟังการบรรยาย การแจกแบบสอบถาม และแบบทดสอบหลังการอบรม จากนั้นน าไปท าการวิเคราะห์
จัดท ารายงาน
(5) โครงการ “อุปกรณ์ Smart Helmet” โดยนักศึกษาแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์และแผนกวิชา
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปวส.2 เพื่อมาช่วยในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากรถจักรยานยนต์และเป็น
การสร้างวินัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งกิจกรรมหลักในการด าเนินโครงการ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วางแผนในการสร้างอุปกรณ์ Smart Helmet รวบรวมและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ออกแบบวงจรและตัวเครื่อง ท า
บัดกรีต่อวงจรจากวงจรที่ได้จากการออกแบบไว้ ประกอบวงจรเข้ากับกล่องที่ได้ออกแบบไว้ ท าการประกอบ
อุปกรณ์เข้ากับรถจักรยานยนต์ ทดลองหาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องแล้วทดลองซ้ า
จัดท ารูปเล่มรายงาน
4. การประเมินและติดตามผล
โรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์
ในภาพรวมภายหลังการด าเนินกิจกรรมเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมี
แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจ าวัน เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนดีขึ้นทุกด้าน โดย
พฤติกรรมที่นักเรียนมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในการปฏิบัติ “บ่อยครั้ง หรือ ท าทุกครั้ง” เพิ่มขึ้น คือ เรื่อง การ
ข้ามถนนตรงทางม้าลาย (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 เป็น ร้อยละ 45.1) ส าหรับทัศนคติ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมี
แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความปลอดภัยทางถนนดีขึ้นทุกด้าน โดยทัศนคติที่นักเรียนมีความ
เปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อพฤติกรรมที่ไม่ควรปฏิบัติซึ่ง “ไม่เห็นด้วยเลย หรือ ไม่ค่อยเห็นด้วย” เพิ่มขึ้น คือ “ถ้าอยู่
ในช่วงรถติด การคุยโทรศัพท์หรือแชทบนมือถือเป็นเรื่องที่ท าได้ไม่เป็นอันตราย” (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.6 เป็น
ร้อยละ 80.6)
วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท
ในภาพรวมภายหลังการด าเนินกิจกรรมเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมี
แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจ าวัน เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนดีขึ้นทุกด้าน โดย
พฤติกรรมที่นักเรียนมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ในการปฏิบัติ “บ่อยครั้ง หรือ ท าทุกครั้ง” เพิ่มขึ้น คือ เรื่อง การ
สวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่หรือซ้อนจักรยานยนต์ (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.8 เป็น ร้อยละ 84.9) ส าหรับทัศนคติ
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความปลอดภัยทางถนนดีขึ้นเกือบทุกด้าน
เช่นกัน มีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมที่ไม่ควรปฏิบัติซึ่ง “ไม่เห็นด้วยเลยหรือไม่ค่อยเห็นด้วย” ลดลงมาก
ที่สุดในประเด็น การเพิ่มโทษทางกฎหมายที่รุนแรงสามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมขับขี่ได้ (ลดลงจากร้อยละ 96.6
เหลือ 45.4) ส าหรับทัศนคติที่นักเรียนมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อพฤติกรรมที่ไม่ควรปฏิบัติซึ่ง “ไม่เห็นด้วย
เลย หรือ ไม่ค่อยเห็นด้วย” เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ คือ “การต้องสวมหมวกกันน็อกในขณะที่ผู้อื่นที่อยู่รอบข้างไม่สวม
ใส่ท าให้รู้สึกอึดอัด” (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.7 เป็น ร้อยละ 84.8)
60