Page 74 - kpi20125
P. 74
ส าหรับโครงการของวิทยาลัยเทคนิคชัยนาททั้ง 5 โครงการ มีการด าเนินกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่า
เนื่องจากเป็นเยาวชนที่อยู่ในระดับชั้นการศึกษาที่สูงกว่าและยังได้รับการอุดหนุนงบประมาณในการด าเนินกิจกรรม
มากกว่าด้วย โครงการจึงเป็นทั้งการประดิษฐ์ ให้ความรู้ รณรงค์และเผยแพร่ โดยเห็นได้ชัดเจนว่า มี 2 โครงการที่
สอดคล้องกับมาตรการด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้อง การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎ
การจราจร เครื่องหมายการจราจร ป้ายเตือน การเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น และมี 3 โครงการที่สามารถพัฒนาต่อไป
ในอนาคตให้สอดคล้องกับมาตรการด้านวิศวกรรม นักเรียนวิทยาลัยเทคนิคชัยนาทยังด าเนินการได้เพียงการ
ออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ที่ยานยนต์เพื่อให้เกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย สอดคล้องกับมาตรการด้านการศึกษาและ
มาตรการด้านวิศวกรรม โดยพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และคณะ ที่ว่ามาตรการการศึกษาเป็นการให้ความรู้เพื่อให้เกิด
ทัศนคติและเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนมาตรการด้านวิศวกรรม เป็นการด าเนินการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้
เกิดความปลอดภัยทางถนน เช่น โครงสร้างต่าง ๆ ของถนนและทาง และการออกแบบยานพาหนะ (พงษ์สิทธิ์ บุญ
รักษา และคณะ, 2555, น.9)
3. การติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลในครั้งนี้แบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่นักเรียนได้ท าการติดตาม
ประเมินผลโครงการที่กลุ่มของตนได้ด าเนินการ ซึ่งถือว่ามีความสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research: PAR) ที่กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมด าเนินการวิจัยและเก็บข้อมูล โดยข้อมูลที่
กลุ่มเป้าหมายรวบรวมมานั้นได้ถูกน ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย
ในส่วนที่สอง เป็นการติดตามและประเมินผลโดยคณะผู้วิจัยต่อระดับพฤติกรรมและทัศนคติของ
กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยเปรียบเทียบก่อนการด าเนินโครงการและหลังด าเนิน
โครงการ ในภาพรวมทั้งสองสถานศึกษามีแนวโน้มพฤติกรรมและทัศนคติที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาลัยเทคนิค
ชัยนาทกับประเด็นเรื่องการใช้หมวกกันน็อคและการขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่มีระดับพฤติกรรมและทัศนคติภายหลัง
การด าเนินกิจกรรมสูงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในการใช้ยานยนต์
นั่นเอง
จากการติดตามและประเมินผลนี้ ท าให้ทราบว่ากระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ได้น ามา
ประยุกต์ใช้นี้ท าให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม สอดคล้องกับที่พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และคณะ กล่าวว่า
มาตรการให้การศึกษา ท าให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่านิยมและทัศนคติและน าไปสู่พฤติกรรมการปฏิบัติที่ถูกต้องและ
ปลอดภัย (พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และคณะ, 2555, น.9) สอดคล้องกับ Twisk et al ว่าพฤติกรรมของการขาดการ
ป้องกันนั้นไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยกฎจราจร แต่ขึ้นอยู่กับความตระหนักส่วนบุคคลในเรื่องของภัยมากกว่า ซึ่งการให้
การศึกษาจะช่วยให้เกิดความตระหนักขึ้นได้ (Twisk et al., 2015, p.54) และสอดคล้องกับ Staton et al ที่ได้
ศึกษาถึงการใช้มาตรการสร้างจิตส านึกสาธารณะและการให้การศึกษาในบราซิลที่มีการใช้มาตรการรณรงค์ การ
ฝึกอบรมในศูนย์สุขภาพ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และยังมีการท ารณรงค์สาธารณะด้วยสื่อวิดีโอ แผ่นพับ ของที่
ระลึก ฯลฯ ผลก็คือ ท าให้การบาดเจ็บจากรถชนลดลง มีอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บรุนแรงลดลงถึงร้อยละ
26 และยังลดการส่งเข้ารักษายังห้อง ICU ได้ถึงร้อยละ 25.6 (Staton et al, 2016, p.10)
อย่างไรก็ดี ยังไม่อาจสรุปได้ทั้งหมดว่ามาตรการทางการศึกษาจะท าให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมที่
เปลี่ยนไปได้จริงหรือไม่ สอดคล้องกับ Staton et al ที่ตั้งข้อสังเกตว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลจาก
มาตรการทางการศึกษาค่อนข้างจ ากัดแม้จะก าหนดไว้ในกฎหมายก็ตาม (Staton et al, 2016, p.11)
62