Page 73 - kpi20125
P. 73
5.2 อภิปรายผลการศึกษา
1. การจัดท าแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
พื้นที่ศึกษาครั้งนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายเยาวชนในสถานศึกษาสองระดับที่ต่างกัน คือ ระดับมัธยมต้น และ
ระดับอนุปริญญา จุดร่วมส าคัญคือเป็นกลุ่มตัวอย่างน าร่องที่มีความเหมาะสมในการใช้กระบวนการประชาธิปไตย
แบบมีส่วนร่วมและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เป็น การวางแผนเชิง
ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การให้กลุ่มเป้าหมายด าเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ การติดตามและประเมินผล ซึ่ง
สอดคล้องกับวิธีเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้โดยทั่วไปเสนอโดยปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ ได้แก่ การเรียนรู้โดย
ลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้จากประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา การถ่ายทอด การบอกเล่า ฯลฯ หรือการ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่มีเทคนิคหลายอย่าง เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action
Research: PAR) การควบคุมและชักชวนให้เล็งเห็นคุณค่า (Appreciation Influence Control: AIC) กระบวนการ
เรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Process: SLP) (ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ, 2543, น.10; น.69-95)
นอกจากนี้ แนวการจัดท าแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดและขั้นตอนของ
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ที่นักเรียนสามารถหยิบยกสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาขึ้นมา
เพื่อเสนอประเด็นปัญหาและทางเลือก สามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง สามารถปรึกษาหารือ และร่วมกันสรุป
ประเด็นเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางจราจร ผ่านการจัดท าโครงการที่ได้ร่วมกัน
วางแผนไว้ สอดคล้องกับรายงานสรุปของส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าขั้นตอนของประชาธิปไตยแบบ
มีส่วนร่วมอาจแบ่งได้เป้น 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การมีส่วนร่วมวางแผน ด าเนินกิจกรรม จัดสรรผลประโยชน์ และ
ติดตามประเมินผล (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2556, น.19; 30)
2. การด าเนินกิจกรรมตามแผน
เนื่องจากการประยุกต์ใช้กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คณะผู้วิจัยจึงไม่ได้ท าการแทรกแซง
ความคิดเห็นระหว่างกระบวนการจัดท าแผนของนักเรียนทั้งสองโรงเรียนมากนัก เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสและมี
อิสระในการตัดสินใจบนฐานจุดดี/ จุดด้อยของตนเองที่มีอยู่ สอดคล้องกับถวิลวดี บุรีกุล และคณะที่ระบุถึงขั้นตอน
การจัดท าแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เริ่มตั้งแต่การก าหนดขอบเขตงานที่จะท า การประกาศหัวใจแห่งชัยชนะ
การระบุจุดแข็ง/ผลดี กับ จุดอ่อน/ผลเสีย ไปจนถึงการไตร่ตรองแผน (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2555, น.238-
239) ซึ่งอาจเป็นผลท าให้แผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ มีลักษณะคล้ายกันส่วน
ใหญ่เป็นโครงการประเภทรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ท าความสะอาดผิวทาง เนื่องจากขีดความสามารถและ
เงินอุดหนุนให้กับนักเรียนโรงเรียนนี้มีจ ากัด
จากข้อค้นพบยังอภิปรายได้ว่า โครงการของโรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์ทั้ง 5 โครงการมีความ
สอดคล้องกับมาตรการด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้อง การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎ
การจราจร การเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี มีโครงการที่เกี่ยวกับการท าความ
สะอาดถนนที่อาจเป็นผลช่วยลดสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันเกิดจากสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับพงษ์สิทธิ์ บุญ
รักษา และคณะ ที่กล่าวว่าถนนและสภาพแวดล้อม เช่น พื้นผิวถนนเสื่อมขรุขระเป็นหลุม ต้นไม้ข้างทาง ฯลฯ
สามารถท าให้เกิดอุบัติเหตุเช่นกัน (พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และคณะ, 2555, น.9)
61