Page 78 - kpi20852
P. 78
การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
บทวิเคราะห์ในส่วนก่อนหน้านี้ ชี้ให้เห็นว่าการรักษาอัตราการเติบโต
ของ GDP ของประเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง โดยการปรับตัวลดลงของ
อัตราการเติบโตของ GDP อาจนำมาซึ่งระดับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
ที่ลดลงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ ในขณะที่ เงื่อนไขในการดำเนินการของ
ภาพที่ 4.2 ค่าประมาณการสัดส่วนประชากรในแต่ละช่วงวัย ในปี พ.ศ. 2561 - 2576
รัฐบาล รวมถึงความต้องการบริการของภาครัฐที่เพิ่มเติมขึ้นของประชาชน
จะส่งผลกดดันให้รัฐบาลไม่สามารถปรับลดสัดส่วนรายจ่ายต่อ GDP ลงได้
จากระดับในปัจจุบัน อันจะนำมาซึ่งการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มเติมขึ้น
อย่างต่อเนื่องในอนาคต และส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับตัว
ขึ้นสูงกว่าเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมายได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 สศช.
ตามลักษณะงานของรัฐบาล กลับพบว่าสัดส่วนรายจ่ายด้านการศึกษาและ
รายจ่ายด้านการสาธารณสุขมีแนวโน้มคงที่หรือลดลง ในขณะที่ รายจ่ายเพื่อ
การสังคมสงเคราะห์กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยที่รายจ่ายด้านการศึกษา
และการสาธารณสุขดังกล่าวมักมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อการสร้าง
การเติบโตในระยะยาวของประเทศมากกว่า 3
3 ดูตัวอย่างงานศึกษา อาทิ Barbiero, O. and B. Cournède (2013)
New econometric estimates of long-term growth effects of different areas of
public spending. OECD Economics Department Working Paper No. 1100 หรือ
Kneller, R., M.F. Bleaney and N. Gemmell (1999) Fiscal policy and growth:
ที่มา: evidence from OECD countries. Journal of Public Economics 74, pp. 171-190.
ประกอบ
สถาบันพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้า