Page 80 - kpi20852
P. 80

การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ   การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ
 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563     ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563


                               รัฐบาลน่าจะหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมการเติบโตทาง

                        เศรษฐกิจของประเทศ ผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ

 ภาพที่ 4.3 สัดส่วนรายจ่ายตามลักษณะงานบางรายการ ต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล
                        ทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป็นสำคัญ
                        โดยควรกำหนดให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในส่วนนี้เพื่อลดภาระทาง

                        งบประมาณของภาครัฐทางด้านนี้ลง และส่งผลให้ภาครัฐสามารถรับภารกิจ

                        ด้านสวัสดิการได้มากขึ้นตามความจำเป็น


                               นอกจากนั้น รัฐบาลควรให้ความสนใจกับโครงการที่ตอบโจทย์

                        ยุทธศาสตร์หลากหลายด้าน อาทิ การพัฒนาเด็กเล็กและเด็กปฐมวัยให้มี
                        คุณภาพ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติทั้งในด้านการพัฒนา

                        ทรัพยากรมนุษย์ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างโอกาสและ

                        ความเสมอภาคทางสังคม รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในหลากหลาย

 งบประมาณโดยสังเขปประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 – 2562
                                                                                           5
                        มิติ ทั้งนี้ งานศึกษาของ Heckman ในปี ค.ศ. 2008  และ 2010  พบว่า
                                                                              4
                        การลงทุนในเด็กปฐมวัยมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิตของ
                        แรงงาน ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคเศรษฐกิจ นอกจากนี้

                        ยังช่วยลดปัญหาทางสังคม โดยมีผลสนับสนุนการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียน

                        ลดปัญหาอาชญากรรม และปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นได้ นอกจากนั้น

                        ยังช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประมาณครึ่งหนึ่งของ
                        ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่วัดจากรายได้ทั้งชีวิต เป็นผลมาจากปัจจัยในช่วงก่อน

                        อายุ 18 ปี เช่น เด็กที่เกิดในครอบครัวที่ขาดความพร้อมมีการลงทุนเพื่อ

                        การพัฒนาเด็ก น้อยกว่าเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีความพร้อม เป็นต้น






                             4   Heckman, J.J., 2008, “The Case for Investing in Disadvantaged Young

                        Children,” retrieved on July 18, 2018 from https://heckmanequation.org/
 ที่มา:                 resource/the-case-for-investing-in-disadvantaged-young-children

                               Heckman, J.J., 2010, “Policies to Foster Human Capital,” Research in

                             5
                        Economics, 54, pp. 3-54.



 สถาบันพระปกเกล้า                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   75   76   77   78   79   80   81   82