Page 14 - kpi20858
P. 14
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ
ศิลปะเป็นสิ่งสะท้อนอัตลักษณ์ของชาติ และเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญทางอารยธรรม
การศึกษาศิลปะไม่เพียงเป็นการท าความเข้าใจถึงรากเหง้าอันเป็นพื้นฐานทางภูมิปัญญาของ
บรรพบุรุษ ยังถือเป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมให้ด ารงอยู่สืบไปอีกประการหนึ่ง
ศิลปกรรมของไทยมีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อ และวิถีการด ารงชีวิตของผู้คนในสังคม
อย่างแนบแน่น ดังนั้นการสร้างผลงานศิลปกรรมจึงเป็นประหนึ่งการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
สะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์และความเป็นไปแห่งยุคสมัยโดยปริยาย
ผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่ปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 ถือได้ว่ามีความส าคัญอย่างยิ่ง เนื่องเพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นรอยต่อทางวัฒนธรรม
ของไทยที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัต ถือเป็นพัฒนาการทางศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งของไทย
ซึ่งเปลี่ยนผ่านมาจากสุนทรียะความงามและคติความคิดแบบดั้งเดิม ไปสู่สมัยต้นของการแสดงออก
ด้วยรูปแบบใหม่ภายใต้อิทธิพลจากศิลปะตะวันตก
การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตกปรากฏให้เห็นในสังคมของสยามทั่วไปอย่างน้อย
ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา การติดต่อ
ทางการทูตกับชาวตะวันตกได้เริ่มต้นอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
1
มหาราช รัชกาลที่ 1 ครั้นปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ชนชั้นน า
ต้องปรับตัวเพื่อรับวัฒนธรรมสัจนิยมตะวันตกที่แพร่เข้ามา ก่อให้เกิดภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อทางความ
2
คิด จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประเทศแถบทวีปเอเชียถูก
คุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งนี้อังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น บาวริ่ง (Sir John Bowring) เข้ามา
ท าสัญญากับไทย เรียก สนธิสัญญาบาวริ่ง ซึ่งท าให้ไทยเสียเปรียบอังกฤษหลายประการ ต่อมา
1 สันติ เล็กสุขุม, จิตรกรรมไทยสมัยรัชกำลที่ 3: ควำมคิดเปลี่ยนกำรแสดงออกก็เปลี่ยนตำม (กรุงเทพฯ: เมือง
โบราณ, 2548), 15.
2 เรื่องเดียวกัน, 10.