Page 15 - kpi20858
P. 15
2
3
ประเทศอื่นๆ ในยุโรปและอเมริกาต่างขอท าสนธิสัญญาเช่นเดียวกัน ดังนั้นวิธีเดียวที่จะรักษา
4
ประเทศให้อยู่รอดได้คือการยอมรับอิทธิพลตะวันตก และน ามาปรับปรุงตนเองให้ทันสมัย เพื่อให้
เป็นที่ยอมรับของชาติมหาอ านาจ จนเกิดความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน รวมถึงด้านศิลปกรรมของ
ไทย ส่งผลให้จิตรกรรมและประติมากรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 กลายเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญที่
น าไปสู่การสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ โดยมีการปรับประยุกต์ทั้งเนื้อหาและรูปแบบอย่างชัดเจน
เป็นจุดเริ่มต้นของการวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ และสร้างพระบรมรูปปั้นกษัตริย์ไทยแบบเหมือน
จริงในขณะที่ยังทรงมีพระชนม์ชีพ ซึ่งต่างไปจากคติความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ
ครั้นล่วงเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์เสด็จ
ประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทรงสนพระทัยในงานศิลปะ และได้ทรงน าสถาปนิก จิตรกร ประติมากร
ชาวตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีเข้ามาสร้างผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมในประเทศ
ไทยมากมาย เช่นเดียวกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรง
ตระหนักถึงความส าคัญของการพัฒนาชาติให้มีอารยะ ด้วยการสร้างศิลปะแบบตะวันตก ทรงว่าจ้าง
จิตรกรและประติมากรต่างชาติ เช่น กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) จิตรกร
และศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี (Professor Corrado Feroci) ประติมากร ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อ
เป็น ศิลป์ พีระศรี พร้อมทั้งโอนสัญชาติมาเป็นชาวไทย ถือเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการ
วางรากฐานแนวคิด ตลอดจนแนวทางการสร้างสรรค์จิตรกรรมและประติมากรรรมแบบตะวันตกใน
ประเทศไทย ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ 6 ทรงระลึกถึงความส าคัญของศิลปะประจ าชาติ รักษาไว้ซึ่ง
รากเหง้าแห่งความเป็นไทยมิให้สูญหาย ทรงเปิดโรงเรียนเพาะช่าง เพื่อสร้างและสืบสานงานช่าง
ฝีมือของไทย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้สร้างสรรค์ศิลปะแบบตะวันตก นอกจากนี้สมเด็จเจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นศิลปินคนส าคัญ
5
ทรงรับนโนยบายจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 รื้อฟื้นงานช่างศิลป์ ไทยทั้งปวง ทรงน าศิลปะแบบ
ไทยประเพณีมาพัฒนาให้เกิดรูปแบบใหม่ โดยผสานเอาความงามอย่างไทยเข้ากับการแสดงออกแบบ
ตะวันตกได้อย่างลงตัว
3 สุธี คุณาวิชยานนท์,จำกสยำมเก่ำสู่ไทยใหม่ : ว่ำด้วยควำมพลิกผันของศิลปะจำกประเพณีสู่สมัยใหม่และ
ร่วมสมัย (กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546), 13-14.
4 คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี. สมุดภำพประติมำกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525),16.
5 วิโชค มุกดามณี และคนอื่นๆ, ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกำลที่ 1-8 (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะ
จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์, 2541), 206.