Page 16 - kpi20858
P. 16
3
จากการพัฒนาแนวทางศิลปะของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ การสถาปนา
โรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะ หรือต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนเพาะช่าง
ซึ่งในระหว่างปี พ.ศ.2460-2465 มีการน าแนวการเรียนการสอนศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาสู่
6
โรงเรียนเพาะช่าง ตลอดจนการรับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เข้ามาปฏิบัติราชการ เรื่อยมาจนถึง
ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภายใต้การน าของศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี มีการก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นในปี พ.ศ.2477 ซึ่งมีแนวทางการเรียนการ
7
สอนทั้งรูปแบบศิลปะไทยประเพณีและแบบสากล ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการวางฐานการศึกษาด้าน
ศิลปะที่ส าคัญยิ่งของไทย พร้อมกันกับเป็นช่วงเวลาแห่งการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ทางศิลปะ ซึ่งเติบโต
งอกงาม เป็นประหนึ่งฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนวงการศิลปะของไทยให้เจริญก้าวหน้าไปสู่ศิลปะสมัยใหม่
และร่วมสมัยอย่างเป็นสากลในรัชกาลถัดมา อย่างไรก็ตามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ประเทศชาติต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต ่า ผู้คนบางกลุ่มเรียกร้อง
สิทธิเสรีภาพ ท้าทายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนน าไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง ในปี พ.ศ.2475 และการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ใน ปี พ.ศ.2477 ตามล าดับ อาจ
กล่าวได้ว่าการสร้างจิตรกรรมและประติมากรรมของไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 นี้นอกจากจะสะท้อนให้
เห็นถึงรูปแบบแนวทางที่สอดรับกับความต้องการของสถาบันกษัตริย์ ยังมีนัยยะเกี่ยวพันกับบริบท
แวดล้อมทางสังคมของไทยภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองร่วมด้วย ในขณะที่สภาพการณ์
ทางการเมืองของไทยเลือนลางและเต็มไปด้วยความสับสน แต่เส้นทางแห่งการสร้างสรรค์ศิลปะ
สมัยใหม่ในประเทศไทยกลับทวีความชัดเจนและด าเนินไปอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
เมื่อกล่าวถึงรูปแบบของศิลปะสมัยที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 7 นั้นเป็นไปในลักษณะผสมผสาน
ทั้งการน าเอาความละเมียดละไมอย่างไทยผนวกเข้ากับความเหมือนจริงอย่างตะวันตก ปรับประยุกต์
จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะที่ต่างไปจากรูปแบบไทยประเพณี ความนิยมเกิดขึ้นพร้อมกับรูปแบบที่
นิยมความเหมือนจริงอย่างตะวันตก แม้ว่ารูปแบบในลักษณะข้างต้นได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัย
รัชกาลที่ 4 แต่ทว่าในรัชกาลที่ 7 นี้เอง เป็นช่วงเวลาของการบ่มสร้างกลุ่มช่างหรือศิลปินชาวไทยที่
น าเสนอผลงานอันได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีศิลปะตะวันตก ซึ่งทวีจ านวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่ายุคสมัย
ก่อนหน้า ผลงานศิลปกรรมปรากฏทั้งรูปแบบตะวันตก และการประยุกต์รูปแบบผสานความเป็น
6 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ศิลปะในประเทศไทย: จำกศิลปะโบรำณในสยำมถึงศิลปะสมัยใหม่ (กรุงเทพฯ: ศูนย์
หนังสือลาดพร้าว, 2548), 196.
7 วิโชค มุกดามณี และคนอื่นๆ, ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกำลที่ 1-8, 33.