Page 85 - kpi20863
P. 85

บทบาทส าคัญประการหนึ่งของรัฐบาลในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ

               การด าริริเริ่มนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง คุณภาพของสถาปัตยกรรม ตลอดจนชีวิตความ
               เป็นอยู่ของราษฎร นโยบายเลห่านี้บางอย่างเริ่มมาแล้วตั้งแต่รัชกาลก่อนๆ เช่น การตั้งสภากาชาดสยาม (พ.ศ.

               2436) การออกพระราชก าหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 การตั้งกรมศุขาภิบาล (พ.ศ. 2440) การตั้งกรม

               สาธารณสุข (พ.ศ. 2461) การส ารวจส ามะโนครัวทั่วพระราชอาณาจักร (พ.ศ. 2462) เป็นต้น ส่วนในรัชกาลที่
               7 เองก็มีนโยบายใหม่ๆ เช่น การตั้งสภาจัดบ ารุงสถานที่ ชายทะเลทิศตะวันตก (พ.ศ. 2469)  การตั้ง

               คณะกรรมการวางแผนผังพระนคร (Town-planning Committee) (พ.ศ. 2470)  การยกร่างพระราชบัญญัติ

               เทศบาล (พ.ศ. 2473)  การออกพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตต์เพลิงไหม้ที่บริเวณระวางถนนเจริญ
               กรุง เยาวราช และปทุมคงคา กับที่ต าบลถนนเยาวราช ตอนคลองศาลเจ้าใหม่ถม จังหวัดพระนคร (พ.ศ.

               2475) เป็นต้น นโยบายและกลไกทางกฎหมายหลายประการยังคงส่งผลกระทบสืบเนื่องอย่างลึกซึ้งและ

               ยาวนานมาจนปัจจุบัน


               5.2 สถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” ในสยาม : แนวทางการศึกษาในอนาคต

                       การศึกษาในครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมไทยในช่วงรัชกาลที่ 7 โดยมอง
               ผ่านบริบทต่างๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองร่วมสมัย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ

               ระดับโลก โดยชี้ให้เห็นถึงสภาวะความเป็น “สมัยใหม่” ของสถาปัตยกรรมไทยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอาศัย

               ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ร่วมสมัย ตลอดจนหลักฐานอาคารที่ยังคงสภาพมาจนทุกวันนี้เป็นหลัก
               ฉะนั้น ข้อจ ากัดส าคัญประการหนึ่งของการศึกษาในครั้งนี้ คือการวางกรอบของข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ ซึ่ง

               มักจะเป็นมุมมองของภาครัฐมากกว่าเอกชน การเน้นอาคารส าคัญที่มีหลักฐานให้วิเคราะห์ ท าให้จ าเป็นต้อง

               ละเลยอาคารของเอกชน ตึกแถว หรือแม้แต่อาคารชั่วคราว เช่น พระเมรุมาศ พระเมรุ เป็นต้น อันควรมี
               การศึกษาแยกออกไปในอนาคต ความเป็น “สมัยใหม่” อาจปรากฏอยู่ในอาคารและงานสถาปัตยกรรมที่มิได้มี

               ความโดดเด่น มิได้ออกแบบโดยสถาปนิกมีชื่อ หรือมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบจารีตก็ได้ อันนับว่าเป็น

               ความท้าทายในการศึกษาต่อไป
                       ประเด็นที่ควรมีการศึกษาต่อไปอีกประเด็นหนึ่ง คือผลกระทบของการก่อตั้งวิชาชีพสถาปนิก และการ

               ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีต่อระบบการประกอบวิชาชีพของช่างก่อสร้าง ผู้รับเหมา ฯลฯ ใน

               ระบบการก่อสร้างแบบเดิม ตลอดจนพัฒนาการความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ของสังคมไทยที่มีต่อวิชาชีพที่เพิ่ง
               ก่อตัวขึ้นใหม่นี้ อันเป็นเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อมา คือรัชกาลที่ 8 สืบเนื่องถึงรัชกาลที่ 9  การ

               ออกพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในพ.ศ. 2508 อันเป็นเวลาถึงสามสิบปีหลังรัชกาลที่ 7 สิ้นสุดลง

               ย่อมสะท้อนถึงการรับรู้ที่ใช้เวลายาวนานในการพัฒนาวิชาชีพให้มีมาตรฐานและเป็นที่รู้จักของสังคม มาจนทุก
               วันนี้







                                                           163
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90