Page 84 - kpi20863
P. 84

บทที่ 5

                                                    บทวิเคราะห์และสรุป




               5.1 สถาปัตยกรรมกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จ
               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       จากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในงานสถาปัตยกรรม ลักษณะการประกอบวิชาชีพสถาปนิก

               พัฒนาการวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคู่ไปกับแนวความคิดในการออกกฎหมายควบคุมอาคารและการวางผัง
               เมือง พัฒนาการในเทคนิควิทยาการก่อสร้าง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นได้ว่าแม้

               ช่วงรัชสมัยนั้นจะมิได้ยาวนาน ทว่าก็ยังความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล บางส่วนเป็นผล

               สืบเนื่องจากแนวพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อนๆ  ขณะที่บางส่วนก็เป็นผลกระทบของ
               บริบทโลกร่วมสมัยเอง

                       ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามค่อยๆ เข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ มีชีวิต

               เมือง วัฒนธรรมเมือง สังคมเมืองสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับอัตราการเพิ่มของประชากรที่ทวีสูงขึ้น แม้ในทาง
               การเมืองการปกครอง รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก าลังจะยุติบทบาทลง ทว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กลับทวี

               บทบาทมากขึ้นในชีวิตเมืองสมัยใหม่ ทั้งอาคารสาธารณะ อาคารราชการ อาคารพาณิชย์ วัง บ้านพักอาศัยผู้มี

               ฐานะ มีจ านวนมากที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่สมัยใหม่ที่สะดวกสบาย ถึงพร้อมด้วยสาธารณูปโภค
               สมัยใหม่ ก่อสร้างอย่างแข็งแรงมั่นคงด้วยเทคโนโลยี วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การ

               เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มิได้มีผลกระทบอย่างส าคัญต่องานสถาปัตยกรรมในประเทศไทยแต่

               อย่างใด อย่างน้อยก็ในช่วงปีท้ายๆ ของรัชกาลที่ 7  ความนิยมในรูปแบบสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์นิยม
               (Historicism) พ้นสมัยไปแล้วในช่วงรัชกาลนี้ และถูกแทนที่ด้วยความนิยมในรูปแบบที่ “ทันสมัย” กว่า เช่น

               สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคลดทอน (Stripped Classicism) อาร์ต เดโค (Art Deco) หรือสถาปัตยกรรม

               สมัยใหม่ (Modern Architecture) ตามแต่ความพึงพอใจของเจ้าของอาคารหรือผู้ออกแบบ  สถาปนิกที่
               ประกอบวิชาชีพในช่วงปีท้ายๆ ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คงท างานในระบอบประชาธิปไตยอันมี

               พระมหากษัตริย์เป็นประมุขสืบต่อมา โดยแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง จึงอาจสรุปได้ว่า ความเปลี่ยนแปลง

               ทางการเมืองการปกครองมิได้มีผลต่อพัฒนาการสถาปัตยกรรมไทยในช่วงเวลาดังกล่าวมากนัก
                       ปัจจัยที่ส าคัญอีกประการหนึ่ง คือเศรษฐกิจ ดูจะมีผลต่อพัฒนาการในงานสถาปัตยกรรมมากกว่า ทั้ง

               การลงทุนโดยภาครัฐในสาธารณูปโภค สาธารณูปการขนาดใหญ่ ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการ

               พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทั้งการสร้างสะพาน การตัดถนน ขยายโครงข่ายคมนาคม การสร้าง
               โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน สถานีต ารวจ ฯลฯ การก่อสร้างมากมายเหล่านี้โดยมากเป็นโครงสร้าง

               คอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ประกอบด้วยวัสดุที่ผลิตได้ในประเทศ คือ ปูนซิเมนต์และหิน และวัสดุน าเข้า คือ

               เหล็กเส้น จึงช่วยทุ่นงบประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง


                                                           162
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89