Page 80 - kpi20863
P. 80
เรือนจ าความมั่นคงสูงสุด (maximum security prison) โดยตั้งกรรมการสร้างเรือนจ า ประกอบด้วยพระยา
มุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) สมุหนครบาล เป็นประธานกรรมการ พระยาอาชญาจักร (บุญมา โรจนวิภาต)
ผู้ตรวจการเรือนจ า เป็นผู้อ านวยการก่อสร้าง และนายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin) นายช่างใหญ่
กรมสาธารณสุข เป็นสถาปนิก โดยน าแบบก่อสร้างเรือนจ าต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้
กับบริบทของการราชทัณฑ์ไทย
เรือนจ ากลางบางขวางมีผังรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางยาวขนานกับแนวแม่น้ าเจ้าพระยา มีก าแพงสูง 6
เมตร พร้อมคูน้ าล้อมรอบ เหนือก าแพงโดยรอบขึงไฟฟ้าแรงสูงอีกชั้นหนึ่ง ตามแนวก าแพงมีป้อมรักษาการณ์
รวม 20 ป้อม พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็น 14 แดน ตรงกลางมีหอคอยสูง 30 เมตรให้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ได้
ทั่วทั้งบริเวณเรือนจ า เรือนนอนผู้ต้องขังเป็นตึกสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีผังรูปสี่เหลี่ยมยาว มี
ห้องนอนสองข้าง ตรงกลางเป็นทางเดิน มีลูกรงเหล็กปิดกั้นหัว ท้าย และกึ่งกลางตึก การก่อสร้างเริ่มขึ้นใน
พ.ศ. 2472 มีงบประมาณค่าก่อสร้างรวม 620,000 บาท งานก่อสร้างมีผู้รับเหมาหลายราย เช่น นายสเปรอต
ตี (N. Sperotti) รับเหมาก่อสร้างก าแพง ราคา 200,500 บาท นายซีกิมฮะ (กร จาตุรจินดา) รับเหมางาน
อาคาร ราคา 212,500 บาท งานก่อสร้างอาคารบางส่วนใช้แรงงานผู้ต้องขัง งบประมาณ 187,000 บาท และ
47
ให้กรมคลองขุดคูล้อมรอบ ราคา 20,000 บาท การก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ในพ.ศ. 2474 ทางการจึง
ด าเนินการย้ายนักโทษจากคุกมหันตโทษไปยังเรือนจ ากลางบางขวางในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน
4.3.13 ศาลาเฉลิมกรุง
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงหรสพสมัยใหม่ที่รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็น
ของขวัญให้แก่ประชาชน เนื่องในการฉลองพระนครครบ 150 ปี โดยตั้งอยู่ที่แยกถนนตรีเพชรตัดกับถนนเจริญ
กรุง ในพื้นที่ซึ่งแต้เดิมเรียกว่า สนามน้ าจืด ที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ
55 เมตร อันเป็นที่ดินขนาดจ ากัดเมื่อเทียบกับจ านวนที่นั่งผู้ชม ประกอบกับพื้นที่ใช้สอยที่ประกอบด้วยห้องชม
การแสดงใหญ่ ห้องชมการแสดงเล็ก ห้องขายอาหาร 2 ห้อง บาร์เครื่องดื่ม 2 บาร์ พื้นที่บริการหลังฉาก
(backstage) ฯลฯ ทั้งนี้โครงการนี้มีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิก นายนารถ โพธิประสาท เป็น
วิศวกร
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสามชั้น แบ่งออกเป็นอาคารด้านใต้ (ตาม
แนวถนนเจริญกรุง) และอาคารด้านเหนือ (ตามแนวถนนตรีเพชร) ห้องชมการแสดงใหญ่มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 19.50 เมตร ยาว 30.30 เมตร และพื้นที่บริการหลังฉากอีก 9 เมตร สถาปนิกจึงวางส่วนนี้ไว้ด้านใต้ ซึ่ง
เป็นด้านยาวของที่ดิน ห้องชมการแสดงใหญ่นี้สูงสามชั้น ชั้นล่างเป็นที่นั่งคนดูเต็มทั้งชั้น มีทางเข้าก่อนการชม
การแสดงด้านทิศเหนือ และเมื่อชมการแสดงจบสามารถออกจากห้องนี้ได้สามทาง คือด้านทิศเหนือ ทิศ
ตะวันออก และทิศตะวันตก ชั้นที่สองเป็นชั้นลอย มีที่นั่งชมการแสดงซ้อนอยู่เหนือที่นั่งชั้นล่างบางส่วน ส่วน
ชั้นที่สามเป็นห้องฉาย ทางด้านเหนือของอาคารชั้นล่างมีห้องอาหาร บาร์เครื่องดื่ม และครัวหลัก ชั้นสองมี
ห้องอาหารและบาร์เครื่องดื่มอีกชุดหนึ่ง ชั้นที่สามมีห้องชมการแสดงเล็กและห้องเลานจ์ ทางเข้าหลักของ
109