Page 116 - kpi21078
P. 116
10 จังหวัด...พลังพลเมือง
ด้วยสภาพป่าไม้ที่เสื่อมโทรมลงไปทุกวันนั้น การจะแก้ไขปัญหา
แต่เพียงคนเดียวคงจะไม่ทันการ “เพราะหลายคนใช้ หนึ่งคนรักษา”
การร่วมด้วย ช่วยกันในการแก้ไขปัญหาจึงเป็นทางออกที่สำคัญที่สุด
เพราะเชื่อว่า...
“เรามีที่ดินทำนา ทำไร่ เราต้องรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธารไว้ก่อน
ถ้าป่าไม้สมบูรณ์มีน้ำไหลตลอดปี ก็มีอาหารและมีน้ำดื่มน้ำใช้ตลอดปี
มีป่าไม้ก็มีฝนตกตามฤดูกาล ปลูกพืชทำนาได้ การปล่อยให้นายทุนตัดไม้
ทำให้คนต้องอพยพไปขายแรงงานที่อื่น เพราะความอดอยาก เพราะป่าคือ
คลังอาหารของชาวบ้าน”
อำเภอบ้านหลวงจึงเป็นพื้นที่ยุทธการที่ให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาดูแลป่า
ไม่ให้เกิดการสัมปทานป่า จนเกิดการรวมกลุ่ม “บ้านหลวงหวงป่า” ทำให้
พื้นที่อำเภอบ้านหลวง 4 ตำบลมีป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของ
ประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง การต่อยอดและสืบสานอุดมการณ์ในการดูแลป่า
จากข้อตกลงของหมู่บ้านกลายเป็นข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล
ในการดูแลป่าจึงเกิดขึ้น...
คำกล่าวจาก อาจารย์สุเรียน วงศ์เป็ง ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดน่าน
ความร่วมมือที่เกิดจากหลายฝ่าย...
จากการดำเนินการที่ผ่านมาได้รับทั้งความร่วมมือจากหน่วยงานทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน กว่า 48 หน่วยงาน ที่ร่วมลงนาม
MOU ในการดูแลป่าน่าน เพื่อพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังและฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำยม โดยใช้พื้นที่ในเขตอำเภอ
บ้านหลวงเป็นพื้นที่ต้นแบบนั้น ได้ถือเป็นการสืบสานตำนานการรักษ์ป่า
ของบรรพชนที่ได้สืบทอดจากรุ่นต่อรุ่น โดยได้พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี
สถาบันพระปกเกล้า 10