Page 117 - kpi21078
P. 117

10 จังหวัด...พลังพลเมือง



                  มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ (จนเกิดการเรียนรู้พร้อมกัน) ด้วยโลกปัจจุบัน
                  ที่เปลี่ยนแปลงไป การก้าวทันเทคโนโลยีจึงเป็นอีกแบบทดสอบหนึ่งของ
                  การพัฒนาทั้งงาน และคน ไปพร้อมกัน (ไม่มีอะไรใหม่ เพียงแค่นำ

                  เทคโนโลยีมาต่อยอดควบคู่ไปกับงาน)

                  …เป็นทั้งผู้เรียน และผู้สร้าง ในเวลาเดียวกัน…

                        ปัญหาป่าถูกบุกรุก เป็นเหมือนยอดเขาน้ำแข็ง ที่ซ่อนอะไรไว้ในน้ำ
                  อีกมากมาย การให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ

                  ในการดูแลป่าแก้ปัญหาป่าถูกบุกรุกจึงเกิดขึ้น เริ่มจากการออกมาแสดง
                  ตัวตนของชาวบ้านว่าทำกินอยู่ตรงไหนของผืนโลกโดยใช้ความรู้ทาง
                  ภูมิศาสตร์สารสนเทศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เรียกว่า “ภูมิศาสตร์
                  สารสนเทศ (GIS)”ที่ทุกฝ่ายยอมรับมาเป็นเครื่องยืนยันการหยุดการขยาย

                  พื้นที่การทำการเกษตรพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “การห้ามเลือด”
                  (นางฑิฆัมพร  กองสอน: 2562)

                  เมื่อชาวบ้านเกิดข้อสงสัยจึงมีคำถามที่ว่า...
                        เราจะเป็นผู้เรียน ได้อย่างไร ???...


                        การนำความรู้ทางภูมิศาสตร์
                  สารสนเทศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่
                  ที่เรียกว่า “ภูมิศาสตร์สารสนเทศ

                  (GIS)” มาใช้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ
                  ชาวบ้านและทางราชการจะยอมรับว่า
                  ชาวบ้านสามารถเรียนรู้และทำได้
                  การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เข้าใจเทคโนโลยี
                  จึงเริ่มขึ้น เพราะทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันว่า “ไม่มีสิ่งใดได้มา

                  ง่าย ๆ ถ้าไม่เรียนรู้”...





              10  สถาบันพระปกเกล้า
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122