Page 160 - b29259_Fulltext
P. 160
ความรับผิดชอบที่รัฐธรรมนูญกำาหนดบังคับให้บุคคลซึ่งเป็นชนชาวไทย
ต้องปฏิบัติ หรือกระทำาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เมื่อ
รัฐธรรมนูญกำาหนดว่าการกระทำาใดเป็นหน้าที่ของพลเมืองแล้ว ถ้าหาก
ผู้ใดไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและ
จะถูกลงโทษ” ดังนั้นจึงถือได้ว่าหน้าที่ของปวงชนชาวไทยเป็นภาระผูกพัน
198
และความรับผิดชอบที่ทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อเป็นรากฐานสำาคัญ
ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
3.2 พัฒนาการของหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
ภายหลังประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
พ.ศ. 2475 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ก็ได้มี
การบัญญัติประเด็นของ “หน้าที่ของปวงชนชาวไทย” ขึ้นเป็นครั้งแรก และ
มีการปรับเปลี่ยนหรือให้ความสำาคัญในประเด็นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป
โดยในเริ่มแรกนั้นได้ให้มุ่งเน้นให้ประชาชนมีหน้าที่หลักเพื่อรักษาไว้ซึ่ง
ความมั่นคงของรัฐเป็นประการสำาคัญ ดังจะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ที่กำาหนดให้ปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ที่สำาคัญ
3 ประการ คือ (1) หน้าที่ในการเคารพกฎหมาย (2) หน้าที่ในการป้องกัน
199
ประเทศ และ (3) หน้าที่ในการช่วยเหลือราชการ ครั้นในเวลาต่อมา
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 ได้มีการเพิ่มเติมหน้าที่ปวงชนชาวไทยในประเด็น
198 คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย (ฉบับสมบูรณ์).
(กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548) หน้า 1012-1013.
199 ดู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475, มาตรา 15.
160