Page 166 - b29259_Fulltext
P. 166
และแนวทางของรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ออกเป็น 3 ประเภท
หลัก ๆ ด้วยกัน คือ 205
(1) ประชาธิปไตยทางตรง รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น
การลงประชามติ การเสนอร่างกฎหมาย เป็นต้น
(2) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ได้แก่ การเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำาหน้าที่ในสภา
(3) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สำาหรับรูปแบบการปกครอง
รูปแบบสุดท้ายนี้ ถือเป็นการผสมผสานรูปแบบประชาธิปไตย
ทั้งสองข้างต้นเข้าด้วยกัน ซึ่งได้ส่งผลให้รูปแบบการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองมีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้ภาคส่วน
ต่าง ๆ ทางสังคมได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการ
ดำาเนินงานของภาครัฐมากขึ้น เช่น ตั้งแต่การริเริ่มร่างกฎหมาย
การถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางการเมือง การทำาประชามติ การทำา
ประชาพิจารณ์ การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
รวมทั้ง การเดินขบวนประท้วง แนวทางอารยะขัดขืน หรือ
กระทั่งการใช้ความรุนแรงรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
205 สรุปความจาก บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,
ถวิลวดี บุรีกุล. ประชาธิปไตยแบบมี
ส่วนร่วม (Participatory Democracy).
(พิมพ์ครั้งที่ 4). (กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี
กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์, 2552)
หน้า 12-15.
166