Page 3 - kpiebook62011
P. 3

คำนำ



                                      ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
                                 เป็นต้นมา สิทธิในทรัพย์สินของเอกชนก็ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

                                 อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐอาจใช้อำนาจที่มีอยู่เพื่อจำกัดหรือ
                                 ลบล้างสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนได้ ซึ่งการ “เวนคืน” ทรัพย์สินของเอกชนก็เป็น
                                 รูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจดังกล่าวของรัฐ โดยการใช้อำนาจดังกล่าวของรัฐ

                                 จะต้องคำนึงถึงความได้สัดส่วนและความสมดุล กล่าวคือ การใช้อำนาจเวนคืนของรัฐ
                                 จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะมากที่สุด และกระทบกระเทือนต่อสิทธิของเอกชน

                                 ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนนั้นน้อยที่สุด

                                      นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็บัญญัติรับรอง
                                 สิทธิในทรัพย์สิน และบัญญัติเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 37 วรรคสอง

                                 ว่า “การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
                                 แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือ
                                 การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้

                                 ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในระยะเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดา
                                 ที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน....” ซึ่งกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกล่าวถึง ก็คือ

                                 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อันเป็นกฎหมายที่กำหนด
                                 ขั้นตอน กระบวนการ และรูปแบบในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนกำหนดหลัก
                                 เกณฑ์ในการจ่ายเงินค่าทดแทนแก่ผู้ถูกเวนคืนด้วย อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับดังกล่าว

                                 นั้นบังคับใช้มาเป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการที่ล้าสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                                 การคำนวณและจ่ายค่าทดแทนซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน


                                      ซึ่งสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันทางวิชาการ
                                 ซึ่งมีพันธกิจในการสนับสนุนงานวิชาการของรัฐสภา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ

                                 การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ซึ่งสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภาจึงจัดให้มี ดังนั้น การ
                                 ศึกษางานวิจัย เรื่อง “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530”
                                 ตามโครงการวิเคราะห์กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ โดยได้ศึกษาวิเคราะห์การบังคับใช้

                                 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ว่ามีปัญหาประการใด และ
                                 ควรจะมีการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวไปในทิศทางใดเพื่อให้การบังคับใช้สอดคล้องกับ

                                 สภาพสังคมในปัจจุบัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ
                                 การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับการเวนคืน วงวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป



                                                                                 สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า
   1   2   3   4   5   6   7   8