Page 6 - kpiebook62011
P. 6

2











                     สิทธิในทรัพย์สิน (Property Rights) ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นหมายถึง ความสามารถของปัจเจก
               ในการใช้ประโยชน์จากโภคภัณฑ์หรือสินทรัพย์นั้นโดยตรงผ่านการใช้สอย หรือโดยอ้อมผ่านการแลกเปลี่ยน

               ความสามารถเช่นว่านั้นรวมถึงสิทธิที่จะใช้ทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้รับรายได้อันเกิดจากทรัพย์สิน และสิทธิที่จะ
               โอนสิทธิเช่นว่านี้ให้แก่ผู้อื่น (Barzel, 1997; Eggertsson,1990) สิทธิในทรัพย์สินของปัจเจกซึ่งเป็นเอกชนนี้
               มีความสำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน

               ของเอกชน อย่างไรก็ตาม รัฐอาจใช้อำนาจที่มีอยู่เพื่อจำกัดหรือลบล้างสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนได้ หากเป็น
               ไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ


                     การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจดังกล่าว รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ
               แทบทุกประเทศรวมถึงไทย รับรองการใช้อำนาจของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะเช่นนี้  โดยมาตรา 37

                                                                 1
               แห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ....  บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและ
               การสืบมรดก” อย่างไรก็ตาม บทบัญญัตินี้กำหนดให้รัฐสามารถเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ หากเป็นไป
               “เพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อ

               ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น”

                     บทบัญญัติตามมาตรา 37 แห่งร่างรัฐธรรมนูญฯ สะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่สำคัญของรัฐสองด้าน ด้านแรก

               คือ การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน และด้านที่สอง คือ การรับรองการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์
               สาธารณะ  ด้วยเหตุนี้ มาตราเดียวกันนี้จึงมีเนื้อหาที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลระหว่างหน้าที่ของรัฐ
               ทั้งสองด้านนี้ โดยกำหนดให้รัฐ “ต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจน

               ผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน” ตามที่กฎหมายบัญญัติ  กฎหมายฉบับดังกล่าว คือ
               พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดขั้นตอน กระบวนการ และรูปแบบ

               ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน
               ด้วย

                     อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวยังคงมีปัญหาหลายประการ  ทั้งปัญหาและอุปสรรคในการ

               กำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ทำให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรม และ
               ส่วนปัญหาของรัฐในการนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์

               ในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงสมควรมีการวิเคราะห์
               กฎหมายฉบับดังกล่าว  รวมถึงนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา
               ในปัจจุบัน





               
      1   ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับที่แก้ไขตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ สามารถเข้าถึงได้ที่
               http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/more_news.php?cid=61









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11