Page 27 - kpiebook62015
P. 27
หมายถึง การเชื่อมั่นในศักยภาพของตนและชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาและ พัฒนาชีวิต
ความเป็นอยู่ของตนเอง ในทางปฏิบัติก็สามารถจัดการตนเองและชุมชนได้ มีความเข้มแข็ง มุ่ง
การพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือหรือพึ่งตนเองได้ ทั้งในเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและ
วัฒนธรรม ทั้งใน ยามปกติและประสบกับภาวะวิกฤตต่าง ๆ การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก
เป็นการพึ่งเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด ไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
สมาชิกของชุมชนต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ กล้าคิดกล้าตัดสินใจ เสียสละ มีส านึก
เป็นเจ้าของ และ หวงแหน ตื่นตัว แลกเปลี่ยนข้อมูล อยู่ในระบบการสื่อสารของชุมชนและยึด
หลักการประชาธิปไตย
2.1.2.2 การมีส่วนร่วม และการเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชน
หมายถึง การที่สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชนที่จะร่วมกันจัดการกับปัญหาของชุมชน
ผนึกก าลังร่วมกัน ไม่ต่างคนต่างท า เปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วม เอื้อ
ประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คน การรวมตัวกันในลักษณะหุ้นส่วน มีเป้าหมายและมีทิศทาง
ร่วมกัน มุ่งการพึ่งตนเองของชุมชน มุ่งพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีวิถีและยึดหลักประชาธิปไตย
โปร่งใส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
2.1.2.3 เป้าหมาย
คือ การมีเป้าหมายและมีทิศทางร่วมกัน ในการท างานหรือกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มคน
การมีเป้าหมายร่วมกันเป็นหลักการส าคัญในการมีส่วนร่วม การมีเป้าหมายร่วมกันน าพลังในการ
ท างานมารวมกัน มุ่งไปให้บรรลุเหมือน ๆ กัน
2.1.2.4 หลักประชาธิปไตย
หมายถึง การยึดหลักกฎหมาย การเคารพสิทธิตนเองและสิทธิของผู้อื่น ยึดหลักความ
เสมอภาคและเท่าเทียมกัน ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วม การมีความรับผิดชอบ หลักการ
ดังกล่าวมีความหมายถึงการน าหลักการไปใช้ในชีวิตประจ าวันหรือการมีวิถีชีวิตแบบพลเมือง
ประชาธิปไตย
2.1.2.5 การเรียนรู้
หมายถึง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่สมาชิกชุมชนและชุมชนได้ปฏิบัติ การถอด
บทเรียนเพื่อได้สิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การพัฒนาและแก้ไขให้ได้สิ่งที่ดีกว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง
กันจะเป็นการพัฒนาคุณภาพของสมาชิกในชุมชน สร้างผู้น า สร้างกระบวนการรับฟังและ
ตัดสินใจร่วมกัน เสริมสร้างทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ นับเป็นกระบวนการให้การศึกษา
ตลอดชีวิตของสมาชิกชุมชน
2.1.2.6 การสื่อสารและระบบสื่อสาร
18