Page 23 - kpiebook62015
P. 23
8. หลักการใช้วัฒนธรรมชุมชน เพราะวัฒนธรรมชุมชนเป็นสิ่งที่ประชาชน
ยอมรับ และน ามาปฏิบัติในชีวิตประจ าวัน จนเป็นวิถีชีวิต การใช้วัฒนธรรมชุมชนทั้งที่เป็นวัตถุ
เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ หรือ ที่ไม่เป็นวัตถุ เช่น ภูมิปัญญา วิธีคิด วิธีท า เป็นหลัก
ในการพัฒนาก่อให้เกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน
9. หลักการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกชุมชน การเรียนรู้ร่วมกันก่อให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ของคนในชุมชน และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากภายนอกชุมชน ท าให้
สามารถสร้างบทเรียน เกิดความรู้ใหม่ และสร้างความตื่นตัวในการพัฒนาตนเองและพัฒนา
ชุมชนร่วมกัน
10. หลักการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน การสร้างเครือข่าย ก่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทรัพยากร ระหว่างกัน และท าได้ทั้งเครือข่ายภายใน
และภายนอกชุมชน
11.หลักการขยายผลงานพัฒนาที่ประสบผลส าเร็จ ความส าเร็จของงานพัฒนา
ชุมชนเป็นการสร้างปรัชญา ก าลังใจ ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในการท างานพัฒนาชุมชนให้
ประสบความส าเร็จอย่างต่อเนื่อง
12. หลักการสมทบ ในกรณีที่การท างานพัฒนาชุมชนได้พยายามใช้ทุนทาง
สังคมของชุมชนอย่างเต็มความสามารถแล้วยังไม่เพียงพอ เกินขีดความสามารถของประชาชนใน
ชุมชนก็สามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกชุมชนได้ในระยะแรก กล่าวได้ว่า การ
พึ่งตนเองเป็นการพัฒนาชุมชนและศักยภาพของคนในชุมชน ใช้ทุนทางสังคมให้เป็นประโยชน์ต่อ
การพัฒนาชุมชนโดยพึ่งพิงภายนอกชุมชนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ชุมชนมีความสามารถในการ
พึ่งตนเองได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ขนิษฐา นันทบุตร (2560) กล่าวถึงการท างานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ต้องมีการท างานร่วมกันของ 4 องค์กรหลัก คือ
1. ผู้น าในท้องที่
2. หน่วยงานในท้องที่
3. ผู้น าท้องถิ่น และ
4. ภาคประชาสังคม โดยเน้น “บทบาทของผู้น าธรรมชาติ แต่ไม่ได้มองข้าม
ความส าคัญของผู้น าทางการ ซึ่งต้องประสานสอดคล้องกัน” โดยผู้น าทางการเหมาะสมที่จะเป็น
ผู้ประสานระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการ ผู้น าธรรมชาติสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จึง
เหมาะสมที่จะเป็นแกนน าหลักขับเคลื่อนความเข้มแข็งของกลุ่มและชุมชน
14