Page 3 - kpiebook62016
P. 3
อาร์เจนตินา ตูนีเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ แต่ละประเทศมีความแตกต่างทั้งระดับการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และระบอบการปกครองก่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตย แม้ว่าระดับความส าเร็จในการเปลี่ยนระบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตยจะแตกต่าง
กันไปในแต่ละประเทศ แต่กล่าวได้ว่า ทุกประเทศยังคงก้าวเดินอยู่บนถนนสายประชาธิปไตยโดยไม่
ย้อนกลับไปใช้ระบอบอ านาจนิยมที่เคยปกครองประเทศในอดีต ด้วยการรัฐประหารหรือวิถีทางอื่น
นอกกระบวนการประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ยังไม่
หยุดนิ่ง แต่ต้องอาศัยปฎิบัติการที่มุ่งมั่น เพื่อป้ องกันการถอยออกจากประชาธิปไตย
เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศต่างมีความโดดเด่นและมีเสน่ห์ในตัวเอง พลังของ
ประชาชนและภาคประชาสังคมในเกาหลีใต้และยูเครน การหมดความชอบธรรมของระบอบทหารใน
อาร์เจนตินา กลไกในรัฐธรรมนูญที่เอื้อให้พลเมืองหลากหลายศาสนา ชาติพันธุ์ ของไนจีเรียสามารถ
อยู่ร่วมกันได้ อินโดนีเซียและโปแลนด์ปรับใช้รัฐธรรมนูญจากระบอบเผด็จการในอดีตโดยไม่ได้ร่าง
ฉบับใหม่ในทันที วิสัยทัศน์ความตั้งใจอย่างจริงใจของผู้น าชิลีและโปแลน์ในการวางรากฐาน
ประชาธิปไตย การประนีประนอมระหว่างพรรคการเมืองต่างขั้วอุดมการณ์และระหว่างพลเรือนและ
ทหารของชิลี การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบนในตูนีเซีย เหล่านี้คือตัวอย่างของเอกลักษณ์เฉพาะตัวใน
กระบวนการเปลี่ยนผ่าน
นอกจากการเรียนรู้แต่ละประเทศแล้ว การศึกษาด้วยวิธีการเปรียบเทียบยังเปิดมุมมองที่เป็น
ประโยชน์ต่อการท าความเข้าใจภาพรวมของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย การแสวงหาปัจจัยร่วม
ที่เอื้อให้เกิดความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านและการจรรโลงประชาธิปไตย ย่อมให้แง่คิดที่รอบด้านและ
แหลมคมต่อความพยายามสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย
ผู้เขียนขอขอบคุณ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า ที่มอบความไว้วางใจ
ให้ศึกษาประเด็นที่มีความส าคัญและเป็นประโยชน์ยิ่งเช่นนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สักวันหนึ่ง
ประเทศไทยจะได้เป็นตัวแบบที่ประสบความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เพื่อให้
ทั่วโลกได้ศึกษาเรียนรู้
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี
8 กรกฎาคม 2560