Page 5 - kpiebook62016
P. 5
บทสรุปส ำหรับผู้บริหำร
การศึกษาประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยนี้ เป็นการวิจัยทั้งในมิติที่เป็น
ทฤษฎีเชิงปทัสถาน (Normative theories) และในด้านที่เป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ (Empirical
evidences) ด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบแบบ “ความแตกต่างมากที่สุดเพื่ออธิบายผลลัพธ์ร่วมกัน”
(Most-different method หรือ “Method of agreement”) โดยน าเสนอประสบการณ์ของ 8 ประเทศ
ใน 4 ภูมิภาคของโลก ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย
อาร์เจนตินา ชิลี ตูนีเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ นอกจากนี้ยังตรวจสอบด้านกลับของระบอบ
ประชาธิปไตย นั่นคือ การออกจากระบอบประชาธิปไตย หรือการเปลี่ยนผ่านที่ถดถอยย้อนกลับไปสู่
ระบอบอ านาจนิยมและระบอบลูกผสม
ถึงแม้ประสบการณ์ในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป การเปลี่ยนผ่านใน 8 ประเทศมี
ลักษณะร่วมกันบางประการที่สมควรกล่าวถึง ดังนี้
1. การผนึกก าลังของพลังฝ่ายค้าน และการประนีประนอมระหว่างกลุ่มที่สนับสนุน
ประชาธิปไตย แม้จะไม่เห็นพ้องตรงกันทุกเรื่อง เป็นกระบวนการที่ท าให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งจ าเป็น
มากต่อการเปลี่ยนผ่าน
2. บทบาทของผู้น าทางการเมือง ที่มีวิสัยทัศน์ ตั้งใจและจริงใจมุ่งมั่นวางรากฐานระบอบ
ประชาธิปไตย
3. การปฎิรูปรัฐธรรมนูญ ความเห็นพ้องยอมรับทั้งเนื้อหารัฐธรรมนูญ และกระบวนการ
สถาปนารัฐธรรมนูญ
4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน เป็นการสร้างความไว้วางใจในสถานการณ์
ภายในประเทศ ระบอบประชาธิปไตยจะมั่นคงไม่ได้ หากผู้น าทหารไม่สนับสนุนประชาธิปไตย
5. จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ส่วนใหญ่แล้วจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 ถึง 13 เดือน เพื่อ
อุดช่องโหว่ของความชอบธรรมหลังการโค่นล้มรัฐบาลก่อน
ภาพสะท้อนต่อความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย ที่ส าคัญคือ ความ
แตกแยกและทะเลาะกันเองในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่ปรากฏชัดว่าผู้น าทางการเมืองทั้งที่มา