Page 114 - kpiebook63019
P. 114
109
ด้านนิติบัญญัติ ของกลุ่มอายุน้อยกว่า 51 ปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม และค่าเฉลี่ยด้านการมี
ส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ของกลุ่มอายุ 51-60 ปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม สรุปผลได้
ดังปรากฏในตาราง 4-12
ตาราง 4-12 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ จำแนกผู้ประเมินตาม
กลุ่มอายุ
น้อยกว่า 51 ปี 51-60 ปี มากกว่า 60 ปี
องค์ประกอบย่อย
ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้
L1 2.90 0.90 22 3.04 0.81 34 2.81 0.88 33
L2 2.90 0.79 24 2.45 1.03 32 2.85 1.07 31
L3 2.91 1.05 25 3.25 0.97 34 3.19 0.94 33
L4 3.32 0.72 22 3.39 0.90 36 3.44 0.73 36
L5 2.83 0.94 18 3.02 1.02 33 2.90 1.06 31
L 2.55 0.97 28 2.76 0.96 37 2.73 0.88 38
4.2.2.5 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ จำแนกข้อมูลตามกลุ่มระดับ
การศึกษา
หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มระดับการศึกษา พบว่า ผลการดำเนินงาน
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ย
สูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.79, S.D. = 0.73) ในขณะที่ กลุ่มระดับ
การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.65,
S.D. = 1.03)
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านกรอบแนวคิดและกระบวนการพิจารณา
ร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการ ค่าเฉลี่ยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
ค่าเฉลี่ยด้านคุณลักษณะของกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และค่าเฉลี่ยด้านกรอบระยะเวลาและ
งบประมาณในการตรากฎหมาย ของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้ในภาพรวม ส่วนค่าเฉลี่ยด้านขีดความสามารถของกรรมาธิการในการ
ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ของกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม สรุปผลได้
ดังตาราง 4-13
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)