Page 115 - kpiebook63019
P. 115

110






               ตาราง 4-13  ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ จำแนกผู้ประเมินตาม

               กลุ่มระดับการศึกษา


                                    ต่ำกว่าปริญญาตรี            ปริญญาตรี              สูงกว่าปริญญาตรี

                 องค์ประกอบย่อย
                                   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ   ค่าเฉลี่ย   S.D.   จำนวนผู้ตอบ



                     L1         2.88     0.66     13      2.84    0.85     22      2.96     0.91     54

                     L2         2.46     1.05     12      2.59    0.94     23      2.84     1.01     52

                     L3         2.97     1.07     10      3.03    0.79     22      3.20     1.04     60

                     L4         3.46     0.78     13      3.25    0.79     24      3.44     0.80     57

                     L5         2.65     0.99     13      2.88    0.74     21      3.03     1.11     48

                      L         2.71     0.72     13      2.79    0.73     25      2.65     1.03     65

                     
 
   4.2.2.6  ความเห็นจากที่ประชุมกลุ่มต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่
               นิติบัญญัติ


                     
 
 
 
     
   กรอบแนวคิดและกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการ
               เห็นว่าแม้จะมีความสามารถแต่เป็นการทำงานร่วมกับฝ่ายรัฐบาลอย่างใกล้ชิดทำให้การพิจารณาอาจไม่

               กว้างขวางพอ

                                     การมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย มีอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ประชาชน
               จะไม่มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมแต่เฉพาะการให้ข้อมูลทางเดียว


                                     คุณลักษณะของกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นว่า
               ส่วนใหญ่มีความเหมาะสม แต่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของรัฐมากกว่าภาคประชาชน แต่ก็มี

               กฎหมายบางฉบับที่ก่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม

                                     ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ เห็นว่ามีความ
               สามารถเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว แต่อาจมีข้อด้อยด้านการนำเข้าข้อคิดเห็นและความต้องการของ

               ประชาชนที่ไม่หลากหลายนัก

                                     กรอบระยะเวลาและงบประมาณในการตรากฎหมาย เห็นว่าสามารถดำเนินการได้

               อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบจำนวนกับระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการ แต่ก็มีกฎหมายหลายฉบับที่ยังไม่สามารถ
               ตราขึ้นได้แม้จะมีความจำเป็น












            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120