Page 116 - kpiebook63019
P. 116
111
4.2.2.7 ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่
นิติบัญญัติ
กรอบแนวคิดและกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการนั้น
เห็นว่าเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพราะเป็นการประสานงานกันระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับ
รัฐบาล
การมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย เห็นว่ามิได้มีการปิดกั้น อย่างไรก็ดี
ในส่วนของการเสนอกฎหมายโดยประชาชน ยังทำได้น้อยมาก
คุณลักษณะของกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นว่า
มีความเด่น ทั้งในด้านเนื้อหาและปริมาณ เนื่องจากในการทำหน้าที่ของสภาลักษณะเช่นนี้มาจากปัจจัยหลัก
สองปัจจัย คือ รัฐธรรมนูญ และนโยบายการปฏิรูป เป็นตัวกำกับและปัจจัยรบกวนทางการเมืองก็จะไม่เข้า
มามาก ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ เห็นว่ามี
ความชำนาญในเรื่องที่พิจารณาเป็นอย่างยิ่งเพราะมาจากหน่วยงานที่ดำเนินงานเฉพาะด้านอยู่แล้ว
กรอบระยะเวลาและงบประมาณในการตรากฎหมายเห็นว่าทำได้เป็นอย่างดี
สามารถตรากฎหมายที่ในสภาวะปกติอาจต้องใช้เวลามาก แต่ในส่วนของงบประมาณนั้นส่วนใหญ่ไม่ทราบและ
ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
4.2.2.8 ข้อเสนอแนะด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ
- ในการพิจารณากฎหมายควรกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้การพิจารณา
สำเร็จ
- ควรชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าเรื่องใดถูกพิจารณา เหตุใดจึงพิจารณาช้าหรือเร็ว
เรื่องที่พิจารณาผ่านหรือไม่ผ่านเพราะเหตุใด
- ควรมีแผนจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายให้ชัดเจน
- ควรมีการรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้านมากขึ้น
- ควรจัดระบบรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ควรให้โอกาสประชาชนสามารถเสนอกฎหมายได้ดีขึ้น
- ควรดำเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติควรเปิดเผยข้อมูลในการดำเนินการทางนิติบัญญัติ
โดยเฉพาะข้อมูลด้านงบประมาณในการดำเนินการ
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)