Page 59 - kpiebook65030
P. 59
58 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
มีต่างชาติเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ เศรษฐกิจตกตำ่า พ่ายแพ้สงคราม เทคโนโลยี
ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับโลกได้ ทำาให้ประชาชนในช่วงนั้นลุกฮือต่อต้าน
รัฐบาลราชวงศ์ชิง โดยเกิดขึ้นครั้งแรก ๆ ในปี 1911 ซึ่งเรียกว่า การ “ปฏิวัติซินไห่”
การปฏิวัติในครั้งนั้นเป็นตัวอย่างให้เมืองและมณฑลอื่น ๆ ลุกฮือขึ้นต่อต้าน
รัฐบาลเช่นเดียวกัน จนในที่สุดประเทศจีนจึงกลายเป็นประเทศสาธารณรัฐ
ในที่สุด อย่างไรก็ตาม จีนในขณะนั้นไม่อาจถือได้ว่าเป็นประเทศที่เป็น
ประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีประธานาธิบดี มีสภา แต่เนื่องจากประธานาธิบดี
ขณะนั้นคือ นายพลหยวนซื่อไข ซึ่งคุมขุมกำาลังทหารราชวงศ์ชิงเดิม ด้วยเหตุผล
ที่ประเทศยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีกลุ่มขุนศึกตามหัวเมืองใหญ่ ๆ
กำาลังต่อสู้กันอย่างสมำ่าเสมอ ท้ายที่สุดนายพลคนดังกล่าวก็ได้มีความพยายาม
ที่จะนำาระบบราวงศ์กลับมาใช้ตามเดิม พร้อมกับสถาปนาตัวเองเป็นฮ่องเต้
ของประเทศจีน ผลคือกลุ่มนายทหารใต้บังคับบัญชาคัดค้านอย่างหนัก จนในที่สุด
นายพลคนดังกล่าวก็ได้เสียชีวิตลง ประเทศจีนกลับเข้าสู่การต่อสู้ระหว่างขุนศึก
ตามหัวเมืองอีกครั้ง
ประเทศจีนเริ่มกลับเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง เมื่อพรรคก๊กมินตั๋ง
นำาโดย ดร.ซุน ยัตเซ็น ซึ่งเป็นผู้นำาคนสำาคัญในการปฏิวัติราชวงศ์ชิง ได้พยายาม
ที่จะปราบปรามกลุ่มขุนศึกตามหัวเมือง โดยความสนับสนุนการเงินและ
ยุทโธปกรณ์จากประเทศสหภาพโซเวียต มีการตั้งโรงเรียนทหารของพรรค
ก๊กมินตั๋งเอง ซึ่งมีเงื่อนไขคือ การที่พรรคก๊กมินตั๋งต้องยอมให้มีพรรคคอมมิวนิสต์
เกิดขึ้นในประเทศจีน หลังจากนั้นไม่ถึงปี ดร.ซุน ยัตเซ็นก็ได้เสียชีวิตลง
เจียงไคเช็ค ผู้นำาทางการทหารได้ขึ้นมาเป็นผู้นำาแทน อย่างไรก็ตาม นโยบาย
ของเจียงไคเช็คได้มีการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อย่างหนัก จนกระทั่ง
พรรคคอมมิวนิสต์ต้องอพยพเดินทัพทางไกล ซึ่งเรียกว่า “Long march”